บทบาทสหภาพแรงงานบริษัทในเครือพานาโซนิคประเทศไทย

Main Article Content

ภาณุมาต บุตราช
ชัยสิทธิ์ ทองบริสุทธิ์
ณัฐวุฒิ โรจน์นิรุตติกุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อบทบาทสหภาพแรงงานของสมาชิกสหภาพแรงงานบริษัทในเครือ พานาโซนิค ประเทศไทย และ 2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อบทบาทสหภาพแรงงานบริษัทในเครือพานาโซนิคประเทศไทย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ของบริษัทในเครือพานาโซนิค ประเทศไทย จำนวน 377 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือแบบสอบถาม และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์ t-test และ one-way ANOVA ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นต่อบทบาทสหภาพแรงงานบริษัทในเครือพานาโซนิค ประเทศไทย อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก 2) สมาชิกสหภาพแรงงานที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และระยะเวลาที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทสหภาพแรงงานบริษัทในเครือพานาโซนิค ประเทศไทย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

How to Cite
บุตราช ภ., ทองบริสุทธิ์ ช., & โรจน์นิรุตติกุล ณ. (2015). บทบาทสหภาพแรงงานบริษัทในเครือพานาโซนิคประเทศไทย. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(3), 481–488. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122596
บท
บทความวิจัย

References

[1] วิชัย โถสุวรรณจินดา. 2545.แรงงานสัมพันธ์กุญแจแห่งความร่วมมือระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง. กรุงเทพฯ: ธรรมนิติ.

[2] บวร ชื่นจิตต์. 2550. บทบาทสหภาพแรงงานในองค์กรที่เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ :กรณีศึกษา บริษัท สยามโตโยต้าอุตสาหกรรมจำกัด. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตคณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

[3] รายละเอียดของบริษัทพานาโซนิคประเทศไทย. 2557. ความเป็นมาของพานาโซนิคในประเทศไทย. เข้าถึงได้จาก https://www.panasonic.com/th/corporate/profile.html. (วันที่ค้นข้อมูล: 1 ตุลาคม 2557)

[4] พนิดา จามรโชติ. 2555.ความคิดเห็นของพนักงานระดับบริหารต่อความสามารถในการแข่งขันกลุ่มบริษัทไทยซัมมิท. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม.11(1), น.112-124.

[5] อัญชลี ค้อคงคา. 2536. สหภาพแรงงานและแรงงานสัมพันธ์. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

[6] บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. 2553.สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5.กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์.

[7] พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2543. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[8] ถาวรีย์ ใหญ่น้ำ. 2556.บทบาทของประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจธนาคารกรุงไทย.การประชุมวิชาการในโอกาสครบรอบ 25 ปีและการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต.