แนวปฏิบัติการสร้างความเข้มแข็งสภานักเรียนโดยยึดหลักการจัดการศึกษาเชิงพิพัฒนาการนิยมในโรงเรียนสังกั ดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างแนวปฏิบัติการสร้างความเข้มแข็งสภานักเรียนโดยยึดหลักการจัดการศึกษาเชิงพิพัฒนาการนิยม ศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติและศึกษาระดับความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติ ผู้มีส่วนร่วมในการศึกษาครั้งนี้ได้จากโรงเรียนที่สมัครใจ จำนวน 6 โรงเรียน (โรงเรียนขนาดใหญ่ 2 โรงเรียน ขนาดกลาง 2 โรงเรียนและขนาดเล็ก 2 โรงเรียน) ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนรวมทั้งหมด 6 คน ครูที่ปรึกษาสภานักเรียนรวมทั้งหมด 6 คน ครูประจำกลุ่มสาระวิชารวมทั้งหมด 40 คน และสมาชิกสภานักเรียนรวมทั้งหมด 66 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1. แนวปฏิบัติ 2. อนุทินของผู้มีส่วนร่วมในการศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความ ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวปฏิบัติการสร้างความเข้มแข็งสภานักเรียนโดยยึดหลักการจัดการศึกษาเชิงพิพัฒนาการนิยม ประกอบด้วย 12 ขั้นตอน คือ 1.1 เตรียมผู้บริหาร 1.2. ผู้บริหารตั้งปณิธานแล้วจัดทำแผนการดำเนินการสภานักเรียน 1.3. สร้างความเข้าใจและเน้นย้ำในบทบาทหน้าที่ของครูที่ปรึกษา ครูประจำกลุ่มสาระ และนักเรียนเกี่ยวกับสภานักเรียน 1.4. เตรียมนักเรียนเข้าสู่ชุมชน 1.5. เข้าสู่ชุมชน 1.6. สร้างความตระหนัก 1.7. กำหนดประเด็นเพื่อให้สภานักเรียนแก้ปัญหา/พัฒนา 1.8. กำหนดแนวทางในการแก้ปัญหา/พัฒนา 1.9. การนำแนวทางแก้ปัญหาไปปฏิบัติ 1.10. เก็บรวบรวมข้อมูล 1.11. สะท้อนผลการดำเนินงานนักเรียน และ 1.12. ถอดประสบการณ์ 2. ผลการใช้แนวปฏิบัติ คือ 2.1 สภานักเรียนทั้ง 6 สภานักเรียนสามารถริเริ่มและดำเนินกิจกรรมที่ปรารถนาจะทำได้ 2.2 กิจกรรมที่พึงปรารถนานี้สามารถเอื้อประโยชน์ให้ชุมชนของนักเรียน ภายใต้ความเป็นผู้นำของสภานักเรียน 2.3 สภานักเรียนเกือบทั้งหมดสามารถดำเนินกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและซึมซับภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเองได้ 2.4 ทั้ง 6 สภานักเรียนสามารถนำนักเรียนของโรงเรียนเข้าร่วมกับชุมชนอย่างจริงจัง 3. ผู้บริหารโรงเรียนและครูที่ปรึกษาสภานักเรียนทุกคนมีความพึงพอใจอย่างมาก ( = 4.42, S.D.= 0.51) กับแนวปฏิบัตินี้ ผู้บริหารโรงเรียนและครูที่ปรึกษาสภานักเรียนสามารถเห็นอย่างชัดเจนถึงผลประโยชน์และผลเชิงบวกในด้านการจัดการทั้งในและนอกห้องเรียนจากการได้ดำเนินการตามแนวปฏิบัตินี้
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2551.สภานักเรียนหลักการและแนวทางในการดำเนินงาน. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
[3] พงษ์ศักดิ์ เสคุคุมพัตถ์. (2557, 23 มิถุนายน).ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดนากระรอก. [สัมภาษณ์].
[4] สุรินทร เสถียรสิริวิวัฒน์. 2556.ปรัชญาการศึกษากับการจัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 12 (1), น. 220-228.
Satiansiriwiwat, S. 2012.Philosophy of Education and Management in the Basic Education Standard. Journal of Industrial Education, 12(1), p. 220-228.
5. Gentile, S. K.. 2014. From Listening to Empowering: A Study of High School Principals’ Perceptions of Student Voice in Classroom Instruction. Doctor of Education,University of Pittsburgh. ProQuest LLC (2015).UMI 3690754.
[6] ประยงค์ รณรงค์. 2558. บันทึกประสบการณ์.กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร.
[7] ชัยฤทธิ์ โพธิสุวรรณ. 2544.การศึกษาผู้ใหญ่: ปรัชญาตะวันตกและการปฏิบัติ.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
[8] Cross, B., Hulme M. and Mckinney S.. 2014.The last place to look : the place of pupil councils within citizen participation in Scottish schools. Oxford Review of Education,40 (5), 628-648.
[9] Hotam, Y. and Hadar, L. L.. 2013. Pedagogy in practice: the pedagogy of a learning setting as students experience it. Oxford Review of Education, 39 (3), P 385-399.