ศึกษาและออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่องธรรมชาติรอบตัว สำหรับเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่องธรรมชาติรอบตัว สำหรับเด็กปฐมวัย 2) เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่องธรรมชาติรอบตัว สำหรับเด็กปฐมวัย 3) เพื่อประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่องธรรมชาติรอบตัว สำหรับเด็กปฐมวัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนเด็กปฐมวัยของผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่องธรรมชาติรอบตัว สำหรับเด็กปฐมวัย 2) แบบประเมินเนื้อหาและการใช้ภาษาของหนังสือนิทานภาพประกอบ 3) แบบประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบที่มีต่อการออกแบบภาพประกอบและหนังสือนิทานภาพประกอบ 4) แบบประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่องธรรมชาติรอบตัว สำหรับเด็กปฐมวัย 5) แบบประเมินความพึงพอใจของเด็กปฐมวัย ที่มีต่อผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่องธรรมชาติรอบตัว สำหรับเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยสรุปว่า 1) ผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่องธรรมชาติรอบตัว สำหรับเด็กปฐมวัย คือหนังสือนิทานภาพประกอบเรื่อง “ทำไงดี! ป่าของฉันมีปัญหา” โดยใช้เทคนิคการออกแบบหนังสือสามมิติ (Pop up) 2) การออกแบบหนังสือนิทานภาพประกอบ เรื่อง “ทำไงดี! ป่าของฉันมีปัญหา” ผู้วิจัยได้ออกแบบหนังสือนิทานภาพประกอบมา 3 รูปแบบ โดยรูปแบบที่ 2 มีความเหมาะสมมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเหมาะสมมาก มีค่า ( =4.23, S.D.=0.74) โดยมีลักษณะของภาพประกอบที่สื่อความหมายได้ชัดเจน ลายเส้นไม่ซับซ้อน หน้าปกของหนังสือนิทานมีความสนใจสอดคล้องกับชื่อเรื่อง สีสันสวยงามสามารถดึงดูดความสนใจของเด็กได้ดี 3) การประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่องธรรมชาติรอบตัว สำหรับเด็กปฐมวัย โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนเด็กปฐมวัย สรุปได้ว่าผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่องธรรมชาติรอบตัว สำหรับเด็กปฐมวัย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเหมาะสมมาก มีค่า (
=4.27, S.D.=0.62)
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] สุกาญจน์ รัตนเลิศนุสรณ์. 2550. หลักการอนุรักษ์ และการจัดการชีวภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ส.ส.ท.
[3] กระทรวงศึกษาธิการ. 2547. คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546(สำหรับเด็กอายุ3-5ปี). พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
[4] ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ และพิรุณ อนวัชศิริวงศ์. 2553. การ์ตูน : มหัศจรรย์แห่งการพัฒนาสมองและการอ่าน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : มูลนิธิเด็กโดยสถาบันการ์ตูนไทยมูลนิธิเด็ก
[5] ภิญญาพร นิตยะประภา. 2534. การผลิตหนังสือสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
[6] วินัย รอดจ่าย และคณะ. 2534. การเขียนและจัดทำสื่อหนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ตะเกียง
[7] จินตนา ใบกาซูยี. 2534. การเขียนสื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.
[8] เบญจพร สว่างศรี วิภารัตน์ แสงจันทร์และนาตยา ปิลันธนานนท์. 2556. การพัฒนาชุดการเรียนรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 12(2), น.19-25.