ผลของการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การทำเค้ก ของนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยดุสิตธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา และหาประสิทธิภาพ ของแผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เรื่องการทำเค้ก ของนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้สอนแบบผสมผสานกับกลุ่มที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาชั้นปริญญาตรีปีที่ 2 วิทยาลัยดุสิตธานี จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ซึ่งได้มาจากการเลือกสุ่มแบบกลุ่ม (cluster sampling) เวลาที่ใช้ในการทดลอง 3 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ แบบผสมผสาน เรื่อง การทำเค้ก 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง การทำเค้ก 3) บทเรียนอีเลิร์นนิ่ง (E-Learning) เรื่อง การทำเค้ก การประเมินคุณภาพของบทเรียนเลิร์นนิ่งมี 3 ด้าน คือ (1) การประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา (2) การประเมินคุณภาพด้านเทคนิคการผลิตสื่อ (3) การประเมินคุณภาพวีดิทัศน์ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมี 2 ด้าน คือ (1) ด้านพุทธิพิสัย ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างเนื้อหากับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมเท่ากับ 1.00 ค่าความยากง่ายเท่ากับ 0.20-0.79 ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.20-0.90 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 (2) ทางด้านทักษะพิสัย ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างเนื้อหากับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test แบบ independent Samples ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เรื่อง การทำเค้ก มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 82.00:89.33 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เรื่องการทำเค้ก สูงกว่า นักศึกษาที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง การทำเค้ก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] ประพรรธน์ พละชีวะ. 2550. การนำเสนอ รูปแบบการเรียนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกันในโครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับฝึกแก้ปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1. ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[3] อดิลักษณ์ พุ่มอิ่ม. 2550. การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ วิชาระบบคอมพิวเตอร์สำหรับธุรกิจ คณะเทคโนโลยีการเกษตร เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 10(3), น. 46-53.
[4] ศิริรัตน์ เพ็ชร์แสงศรี. 2555. บทความปริทัศน์ การเรียนแบบผสมผสาน และการประยุกต์ใช้Blended Learning and Its Applications.วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 11(1), น. 1-5.
[5] สิริวรรณ จันทร์งาม. 2548. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามรูปแบบการสอนโดยใช้สิ่งช่วยจัดมโนมติล่วงหน้า (advance organizer model) เรื่อง ปริมาตรและพื้นที่ผิว. ปริญญานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[6] ภัทรา วยาจุต. 2550. ผลของการเรียนแบบผสมผสานและแบบใช้เว็บช่วย ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีบุคลิกภาพต่างกัน. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
[7] นิพนธ์ รักประทานพร. 2549. บทเรียนสำหรับการการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ วิชาระบบฐานข้อมูลหลักสูตรครุศาสตร์ อุตสาหกรรมบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง. ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
[8] อดิลักษณ์ พุ่มอิ่ม. 2550. การพัฒนาบทเรียนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ วิชา ระบบคอมพิวเตอร์สำหรับธุรกิจ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
[9] อลิษา ติ๊บคำ.2552. การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการทบทวน วิชาการสร้างเว็บเพจอย่างง่าย เรื่องการเชื่อมโยงเว็บเพจสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนหลวงพ่อปานคลองด่านอนุสรณ์. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
[10] ปณิตา วรรณพิรุณ. 2554. การเรียนแบบผสมผสาน จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ Blended Learning Principles into Practice. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา, 1(2), น. 43-48.
[11] เขต ดอนประจำ. 2555. การเปรียบเทียบผลการเรียนประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนผสมผสานกับการเรียนปกติที่มีต่อความสามารถใน การโต้แย้งและการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีผลการเรียนวิทยาศาสตร์ต่างกัน. วิทยาศาสตร์ ศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม.