ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัทเอสซีลอร์แมนูแฟกเจอริ่ง(ประเทศไทย) จำกัด

Main Article Content

มณีวรรณ ตนภู
วรนารถ แสงมณี
ณัฐวุฒิ โรจน์นิรุตติกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาระดับศักยภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตของบริษัทเอสซีลอร์แมนูแฟกเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด 2)ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิต ของบริษัทเอสซีลอร์แมนูแฟกเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ พนักงานฝ่ายผลิตที่ได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling)ด้วยขนาดตัวอย่าง 320 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถาม และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis)ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า


1) ระดับศักยภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตของบริษัทเอสซีลอร์แมนูแฟกเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด อยู่ในระดับมาก


2) ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา ประสบการณ์ทำงาน การให้อำนาจ เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิต ของบริษัทเอสซีลอร์แมนูแฟกเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01


สำหรับข้อเสนอแนะอื่น ๆ บริษัทควรส่งเสริมให้มีระบบทำงานเป็นทีม ดึงความสามารถจากประสบการณ์ทำงานของพนักงานออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับการปฏิบัติงาน มีระบบหมุนเวียนงานที่ดี และมีการมอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบให้พนักงานมากขึ้น ซึ่งจะทำให้พนักงานแสดงศักยภาพในการปฏิบัติงานของตนเองออกมา

Article Details

How to Cite
ตนภู ม., แสงมณี ว., & โรจน์นิรุตติกุล ณ. (2015). ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัทเอสซีลอร์แมนูแฟกเจอริ่ง(ประเทศไทย) จำกัด. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(2), 544–550. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122517
บท
บทความวิจัย

References

[1] ประไพทิพย์ ลือพงษ์. 2555. การพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีสมรรถนะความสามารถในการแข่งขัน. วารสารนักบริหาร, 32(4), น.103-109.

[2] ครรชิต สลับแสง. 2540. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตามโครงการใช้จ่ายเงินอุดหนุนหมู่บ้านของคณะ กรรมการหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง. ภาคนิพนธ์ พัฒนาสังคมศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

[3] งามพิศ แจ้งประจักษ์. 2539. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพัฒนากรประจำตำบล จังหวัดบุรีรัมย์. ภาคนิพนธ์พัฒนาสังคมศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

[4] Addy, J. 2004. People performance Potential model. ค้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2557, จาก https://www.businessballs.com/people_performance_potential_model.htm

[5] Yamane, Taro. 1973. Statistic- AnIntroductory Analysis. Third edition. New York: Harper and Row Publish.

[6] นคร บางนิ่มน้อย. 2546. ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานพนักงานการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

[7] ธัญญ์ณณัช รุ่งโรจน์สุวรรณ .2553. ปัจจัยที่มีผล ต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท อมรินทร์บุ๊ค เซ็นเตอร์ จํากัด. วิทยานิพนธ์ สาขาการจัดการสาธารณะ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

[8] Silver, Seth. 2001. Power to the People. Training Magazine. 38(10), p. 88.

[9] เรืองอุไร ชูช่วย. 2540. ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ใหญ่บ้าน: ศึกษาเฉพาะกรณี จังหวัดปทุมธานี. ภาคนิพนธ์พัฒนาสังคมศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์.

[10] อัจฉรา บุบผามาลา. 2548. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัทอุตสาหกรรมพรมไทย จํากัด (มหาชน).สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[11] เสกสรร วศินปิตะมงคล. 2551. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเข้าทำงานของพนักงาระดับปฏิบัติการในอุตสาหกรรมผลิต นาฬิกาและชิ้นส่วนในเขตนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง. วารสารคุรุศาสตร์อุตสาหกรรม. 8(1),น. 129-139.