ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานของกรมการเงินทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานของกรมการเงินทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานของกรมการเงินทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรของกรมการเงินทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย จำนวน 140 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานของกรมการเงินทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในระดับมาก ( =3.68) 2) ปัจจัยที่ส่งผลทางบวกต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยด้านแรงจูงใจการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจัยด้านการสนับสนุนของผู้บริหาร ปัจจัยด้านการทำงานเกี่ยวกับประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ปัจจัยด้านการทำงานเกี่ยวกับการเข้ารับฝึกอบรมหลักสูตรทางด้านคอมพิวเตอร์ และปัจจัยด้านการทำงานเกี่ยวกับจำนวนชั่วโมงที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ต่อวัน และปัจจัยที่ส่งผลทางลบต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ อายุ โดยปัจจัยเหล่านี้สามารถร่วมกันพยากรณ์การยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานได้ร้อยละ 60.70
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ. 2557.“แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 3) ของประเทศไทย พ.ศ.2557-2561.” กรุงเทพฯ : กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ. (เอกสารอัดสำเนา).
[3] กรมการเงินทหาร. 2557. กรมการเงินทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://find.rtarf.mi.th/index1.php. (วันที่ค้นข้อมูล : 28 ต.ค. 2557).
[4] กรมการเงินทหาร. 2557. แนะนำหน่วยกรมการเงินทหาร. [วีดิทัศน์]. กรุงเทพฯ : กรมการเงินทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย.
[5] มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. 2558. เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.northbkk.ac.th/about.php. (วันที่ค้นข้อมูล : 28 ต.ค. 2557).
[6] สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. 2550.คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
[7] ผดุงศิลป์ สุยะ. 2552. ระดับการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศของข้าราชการตำรวจ สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดพะเยา. การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
[8] อรทัย เลื่อนวัน. 2555. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ : กรณีศึกษากรมการพัฒนาชุมชนศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
[9] สุวิชา ชูศรียิ่ง และวรรณชนก จันทชุม. 2553. ปัจจัยคัดสรรที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน เขตตรวจราชการที่ 12. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 3(2), น. 69-85.
[10] ศิริพงษ์ โคกมะณี. 2555. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 17. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ (คอมพิวเตอร์) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
[11] เลิศภูมิ จันทรเพ็ญกุล. 2555. ปัจจัยในการปฏิบัติงานของครู คณะวิชาสัตวศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 11(3), น. 134-139.
[12] พรรณี ลีกิจวัฒนะ. 2553. วิธีการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
[13] ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2538.เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
[14] กิตติ ภักดีวัฒนะกุล. 2553. เทคโนโลยีสารสนเทศ.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์.
[15] บังอรรัตน์ สำเนียงเพราะ. 2554.ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับและพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสำนักงานเสมือน กรณีศึกษา : หน่วยงานปฏิบัติการภาคสนาม องค์กรผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่. การศึกษาอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.