ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14001:2004 ของโรงงานในเขตพื้นที่ไอ พี 5

Main Article Content

มาลิน จำแม่น
วิสุทธิ์ สุนทรกนกพงศ์
ณัฐวุฒิ โรจน์นิรุตติกุล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ (1) เพื่อศึกษาระดับการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน  ISO 14001:2004 ของโรงงานอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่ ไอ พี 5 และ (2)เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน  ISO 14001:2004 ของโรงงานอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่ ไอ พี 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ พนักงานของโรงงานอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่ ไอ พี 5 ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 14001:2004 จำนวน 118 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า


1) ระดับการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14001:2004 ของโรงงานอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่ ไอ พี 5 โดยรวมอยู่ในระดับมาก


2) แรงจูงใจในการทำงาน การฝึกอบรมด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและการสื่อสารด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ส่งผลต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14001:2004 ของโรงงานอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่ ไอ พี 5 โดยตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถอธิบายความผันแปรของการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14001:2004 โดยรวมได้ร้อยละ 68.60

Article Details

How to Cite
จำแม่น ม., สุนทรกนกพงศ์ ว., & โรจน์นิรุตติกุล ณ. (2015). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14001:2004 ของโรงงานในเขตพื้นที่ไอ พี 5. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(2), 519–526. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122486
บท
บทความวิจัย

References

[1] กระทรวงอุตสาหกรรม, สํานักงานรับรองมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. 2556. จํานวนสถานประกอบการในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 14001. ค้นเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2556, จาก https://www.tisi.go.th

[2] ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย. 2556. รายงานข้อมูลการจัดการสิ่งแวดล้อม.ฉะเชิงเทรา: ไอ พี 5.

[3] สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ.2553.รายงานการศึกษาเรื่อง การตีความข้อกําหนดตามมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO14001:2004.

[4] ธานินทร์ ศิลป์จารุ. 2550. การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: วี. อินเตอร์พริ้นท์.

[5] กีรติ เคารพธรรม. 2554. ศึกษาการประเมินผลการใช้ ISO 14001:2004 ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของบริษัทกลุ่ม 79 จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร .

[6] ธงชัย ศิริฤทธิ์. 2553. ศึกษาแรงจูงใจในการทำมาตรฐานระบบจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 กรณีศึกษาบริษัทบุญเลิศ วิศวกรรมจำกัด.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์.

[7] ศิริวรรณ ฉายศิริ. 2550. ขวัญกำลังใจของบุคลากรในการทำงาน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 7(1), น. 246-251.

[8] วีระชน ขาวผ่อง. 2551. ความรู้การมีส่วนร่วมและความตระหนักต่อระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของพนักงานในองค์กรที่ได้รับรองมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001): ศึกษากรณีบริษัทจันทบุรีซีฟ้ดส์จำกัดและบริษัทจันทบุรี โฟรเซ่นฟู้ดส์ จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

[9] สุภาพร เรือนเงิน. 2555. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 ของพนักงานบริษัทออโตลิฟ (ประเทศไทย) จํากัด.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์.

[10] จิตราวรรณ ถาวรวงศ์สกุล. 2554. ศึกษาปัจจัยกระบวนกระบวนทัศน์ทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานระดับ 2-7 ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสำนักงานใหญ่. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

[11] วรนารถ แสงมณี. 2553. องค์การ:ทฤษฎีการออกแบบและการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ.

[12] ฐิตวดี เนียมสุวรรณ์. 2554. รูปแบบภาวะผู้นำแรงจูงใจภายในที่มีอิทธิพลต่อความสร้างสรรค์ของพนักงานกรณีศึกษาธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต