ปัจจัยด้านการจัดการความรู้ที่มีผลต่อความรู้และเจตคติที่มีต่อระบบมาตรฐาน GMP ของพนักงานบริษัทไทยนิสชิน เซฟุง จํากัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความรู้และเจตคติที่มีต่อระบบมาตรฐาน GMP ของพนักงานบริษัทไทยนิสชิน เซฟุงจำกัด 2) ปัจจัยด้านการจัดการความรู้ได้แก่ การกำหนดความรู้ การแสวงหาและแลกเปลี่ยนความรู้ และการจัดเก็บความรู้ที่มีผลต่อความรู้และเจตคติที่มีระบบมาตรฐาน GMP กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือพนักงานของบริษัทไทยนิสชิน เซฟุง จำกัดจำนวน 107 คน ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการวิเคราะห์ข้อโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณในการทดสอบสมมุติฐาน ผลการวิจัยพบว่า
- พนักงานบริษัทไทยนิสชิน เซฟุง จำกัด มีความรู้ด้านระบบมาตรฐาน GMP โดยรวมอยู่ในระดับมาก
- พนักงานบริษัทไทยนิสชิน เซฟุง จำกัด มีเจตคติที่มีต่อระบบมาตรฐาน GMP โดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างดี
- การกำหนดความรู้ มีผลต่อความรู้และเจตคติที่มีต่อระบบมาตรฐาน GMP โดยรวมที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 01
ส่วนปัจจัยด้านการจัดการความรู้ด้านอื่นๆไม่มีผลต่อความรู้และเจตคติที่มีต่อระบบมาตรฐาน GMP
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] ธีระวัฒน์ ชะอุ่ม.2554. การจัดการความรู้ทรัพยากรวัฒนธรรม: วัดพระศรีรัตนศาสดาราม.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร.
[3] สำนักงานกรรมการอาหารและยา. 2543.แนวทางการผลิตอาหารตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดี (จี.เอ็ม.พี.):ตามประกาศกระทรวง สาธารณสุขฉบับที่ 193. กระทรวงสาธารณสุข.ประเทศไทย.
[4] วิจารณ์ พานิช. 2547. สถานศึกษากับการจัดการความรู้เพื่อสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา.
[5] ประเวสวะสี.2545.การพัฒนามนุษย์แนวใหม่เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.
[6] ชูศรี วงศ์รัตนะ. 2534. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อวิจัย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
[7] ประยงค์ศรีสุกัญญา.2548.ความรู้ความเข้าใจพฤติกรรมและความพึงพอใจของพนักงานบริษัทโดลไทยแลนด์หัวหินจำกัดที่มีต่อ ระบบมาตรฐาน GMP.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[8] พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2543. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[9] วินิตาสุดหล้า อตินุช กาญจนพิบูลย์และจิระเสกข์ตรี เมธสุนทร.2551. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการปฏิบัติตามระบบ มาตรฐานหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต (GMP) ของอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศไทย. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 7(2),น.161-170.
[10] สุเทพ แจ้งมี.2548.การบริหารการจัดการเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานของบริษัท มัตสุชิตะ อิเล็คทริคเวิร์คส์ (ไทยแลนด์) จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต (การจัดการทั่วไป).มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
[11] สุวรรณ เหรียเสาวภาคย์ และคณะ. 2548.การจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: ก.พลพิมพ์.