ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อจิตอาสาของนักศึกษาอาชีวศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาจิตอาสาและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจิตอาสาของนักศึกษาอาชีวศึกษา 2) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อจิตอาสาของนักศึกษาอาชีวศึกษา และ 3) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านนักศึกษา ด้านครอบครัว ด้านสถานศึกษา ด้านเพื่อน ด้านสังคม และด้านสื่อมวลชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 550 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน(Multi Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบ่งเป็น 3 ตอน มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.36 - 0.68 และค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เส้นทาง แบบมีตัวแปรแฝง ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1) จิตอาสาและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจิตอาสาของนักศึกษาอาชีวศึกษาโดยรวม อยู่ในระดับมาก
2) โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อจิตอาสาของนักศึกษาอาชีวศึกษาที่พัฒนาขึ้นมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (x2 = 58.08, df = 57, x2/df = 1.02, p = 0.438, CFI = 1.00, GFI = 0.987, AGFI = 0.969, RMR = 0.019, RMSEA = 0.0057)
3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อจิตอาสาของนักศึกษาอาชีวศึกษา คือ ปัจจัยด้านสังคม และปัจจัยด้านนักศึกษา ปัจจัยที่มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อจิตอาสาของนักศึกษาอาชีวศึกษา ได้แก่ ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านเพื่อน และปัจจัยด้านสถานศึกษา ซึ่งปัจจัยในโมเดลทั้งหมดสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของจิตอาสาของนักศึกษาอาชีวศึกษา คิดเป็นร้อยละ 71.30
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] อกนิษฐ์ คลังแสง. สภาพจิตอาสาและแนวทางการพัฒนาจิตอาสานักศึกษาอาชีวศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา วันที่ 17 มกราคม 2555. [การสัมภาษณ์]
[3] ไพศาล วิสาโล, พระ. 2550. ศาสตร์และศิลป์แห่งการจัดการความดี ศึกษากรณีมูลนิธิฉือจื้อ. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
[4] มิชิตา จำปาเทศ และชลลดา ทองทวี. 2551. การทำงานเชิงอาสาสมัคร. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิง คุณธรรม สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน).
[5] ศูนย์คุณธรรม. 2551. สถานภาพคุณธรรมของประชาชนในสังคมไทย. [online]. แหล่งที่มา : https://www.moralcenter.or.th [16 มิ.ย. 2555].
[6] โกวิทย์ พวงงาม. 2550. การพัฒนาสังคมไทยวันนี้กับคุณธรรมที่หายไป. วารสารสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์, 54 (เมษายน) น.29.
[7] สมพร สุทัศนีย์. 2544. การทดสอบทางจิตวิทยา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[8] ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง. 2546. การประเมินผลการเรียนรู้แนวใหม่. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[9] Bandura, A. 1986. Social foundations of thought and action : a Social cognitive Theory. Englewood Cliffs, N.J.:Prentice Hall.
[10] สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. 2551. หลักสูตรอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. กรุงเทพฯ : รำไทยเพรส
[11] ไพบูลย์ วัฒนธรรมศิริ และสังคม สัญจร. 2543. สำนึกไทยที่พึงปรารถนา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เดือนตุลา.
[12] สุกานดา นิ่มทองคำ. 2535. ตัวแปรเชิงจิตสังคมและชีวพื้นฐานที่เกี่ยวกับพฤติกรรมที่เอื้อต่อสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้น ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[13] สุพจน์ ทรายแก้ว. 2546. จิตสำนึกสาธารณะการก่อรูปและกระบวนการเสริมสร้าง. วารสารเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์, 4(1), น.45-57.
[14] Ma, H. K. ; Shek, D. T. L. ; Cheung, P. C. ; and Lam, C. O. B. 2000. Parental Peer and Teacher Influences on the Social Behavior of Hong Kong Chinese Adolescents. The Journal of Genetic Psychology. 161(1), p.65–78.
[15] Keer, M. H. el. al. 2003. Family Involvement, Problem and Prosocial Behavior Outcomes of Latino Youth. AM J Health Behavior. 27(1), p.55–65.
[16] สุรางค์ โค้วตระกูล. 2544. จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.
[17] สุภัทรา ภูษิตรัตนาลี. 2547. ปัจจัยและกระบวน การที่เอื้อต่อการพัฒนาจิตสำนึกต่อสังคมของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[18] Ma, H. K. 2003. The Relationship of Family Social Environment Peer Influences and Peer Relationship to Altruistic Orientation in Chinese. The Journal of Genetic Psychology. 164(3), p.267–274.
[19] อัจฉรา โฉมแฉล้ม. 2544. จิตสำนึกของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ต่อการรวมกลุ่มกิจกรรมเพื่อสังคม. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
[20] ธนินทร์ รัตนโอฬาร. 2556. เหตุปัจจัยของการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน : การวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 12(1), น.64-72.
[21] อรพินทร์ ชูชม อัจฉรา สุขารมณ์ และอุษา ศรีจินดารัตน์. 2549. การวิเคราะห์ปัจจัยทางจิตสังคมที่ สัมพันธ์กับจิตสำนึกทาง ปัญญาและคุณภาพชีวิตของเยาวชนไทย. รายงานการวิจัย ฉบับที่ 104. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[22] ชนะศึก นิชานนท์. 2544. การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของคุณลักษณะที่พึงปรารถนาของชายและหญิงไทย ตามการรับรู้ของ นักเรียนมัธยม ศึกษาตอนปลาย ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[23] โกศล มีความดี. 2547. ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับการมีจิตอาสาของข้าราชการตำรวจ. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[24] พรพรหม พรรคพวก. 2550. ปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ในสหวิทยาเขตกรุงเทพตะวัน ออก. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและสถิติทาง การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[25] ยุทธนา สีหราช. (2555, 3 กันยายน). ปัจจัยด้านสื่อโทรทัศน์ที่มีผลต่อจิตอาสาของนักศึกษาอาชีวศึกษา [สัมภาษณ์โดย ญาณภัทร สีหะมงคล].