ประเมินความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมการใช้แท็บเล็ตเพื่อการเรียนการสอนของครู โรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

มรกต พิเชฐไพศาล
ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์
พีระวุฒิ สุวรรณจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการฝึกอบรมการใช้แท็บเล็ตเพื่อการเรียนการสอนของครู 2) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมการใช้แท็บเล็ต เพื่อการเรียนการสอนของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2555-2556 จำนวน 437 โรงเรียน 378 คน ที่ผ่านโครงการอบรมการใช้คอมพิวเตอร์พกพา (Tablet) โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามแนวคิดของ Taro Yamane ที่ความเชื่อมั่น 95% ความคลาดเคลื่อน 5% และสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็น (PNImodified) ผลการวิจัยพบว่า ครูมีสภาพการฝึกอบรมการใช้แท็บเล็ตด้านความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแท็บเล็ตมากเป็นอันดับ 1 อยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\small&space;\bar{X}   = 3.71, S.D. = 0.78) รองลงมาคือด้านการวางแผนพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้แท็บเล็ตอยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\small&space;\bar{X}  = 3.28, S.D = 0.63) และด้านสื่อการเรียนรู้สำหรับแท็บเล็ตอยู่ในระดับปานกลาง (  gif.latex?\small&space;\bar{X}  = 2.95, S.D. = 0.83) ตามลำดับ และค่าความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรม (PNImodified) ด้านสื่อการเรียนรู้สำหรับแท็บเล็ตมีค่ามากเป็นอันดับ 1 (PNImodified = 0.30) รองลงมาคือ ด้านการวางแผนพัฒนาการเรียนการสอนโดยแท็บเล็ต (PNImodified = 0.14) ส่วนด้านความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแท็บเล็ตมีค่า (PNImodified = -0.14) คือครูไม่มีความต้องการจำเป็นการฝึกอบรม

Article Details

How to Cite
พิเชฐไพศาล ม., ตั้งคุณานันต์ ป., & สุวรรณจันทร์ พ. (2015). ประเมินความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมการใช้แท็บเล็ตเพื่อการเรียนการสอนของครู โรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(2), 464–470. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122430
บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. 2542. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542.ค้นเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2556, จาก https://www.onesqa.or.th/

[2] สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.2555. คู่มืออบรม ปฏิบัติการบูรณาการใช้ คอมพิวเตอร์พกพา (Tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนสำนักงานคณะ กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

[3] สุชาดา พลาชัยภิรมย์ศิล. 2555. แท็บเล็ตสื่อยอดนิยมในยุคการเรียนแบบไฮบริด.ค้นเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2556, จาก https://www.bu.ac.th/ knowledgecenter/executive_ journal/july_sep_12/pdf/aw18.pdf

[4] สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. 2555.คู่มือปฏิบัติการของสำนักการศึกษา.กรุงเทพฯ: สำนักยุทธศาสตร์การศึกษา.

[5] พรรณี ลีกิจวัฒนะ. 2553. การวิจัยทางการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุสาหกรรม. สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[6] ดาวรุ่ง อินนอก. 2552. การประเมินความต้องการจำเป็นการฝึกอบรมเพื่อจัดการเรียนรู้แบบสมรรถนะ ของข้าราชการครู สาขา ช่างอุตสาหกรรมของสถานศึกษากลุ่มภาคกลาง สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครหนือ.

[7] ปิยธันว์ เบญจเทพรัศมี. 2555. สมรรถนะครูเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในศตวรรษที่ 21. รวมบทความการศึกษาไทยสู่ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.

[8] วัลลภ จันทร์ตระกูล. 2551. การเลือก-ใช้-สร้างสื่อการสอน. เอกสารอัดโรเนียว สำนักพัฒนาเทคนิคศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

[9] ตระกูล จิตวัฒนากร. 2556. สมรรถนะความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาตามมาตรฐาน วิชาชีพของครูผู้สอน บริหารธุรกิจในวิทยาลัยอาชีวะ.วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 12(2), น. 179-187.