บทเรียนอีเลิร์นนิ่งเพื่อทบทวน เรื่องสารและสมบัติของสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง ประเมินคุณภาพ และหาประสิทธิภาพของบทเรียนอีเลิร์นนิ่งเพื่อทบทวน เรื่องสาร และสมบัติของสาร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนกลางคลองสอง (พร ดีเจริญ) จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 30 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ บทเรียนอีเลิร์นนิ่งเพื่อทบทวน แบบประเมินคุณภาพของบทเรียนอีเลิร์นนิ่งเพื่อทบทวน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งมีค่าความยากง่าย อยู่ระหว่าง 0.33-0.80 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20-0.60 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาประสิทธิภาพของบทเรียน (E1 / E2) ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนอีเลิร์นนิ่งเพื่อทบทวน มีคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก (= 5.00) และด้านเทคนิคการผลิตสื่ออยู่ในระดับดีมาก (= 5.00) ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ และ 2) บทเรียนอีเลิร์นนิ่งเพื่อทบทวนมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.89 (E1) / 82.00 (E2) ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] สุวัฒน์ ธรรมสุนทร. 2555. e-learning กระแสของการศึกษาทางเลือกใหม่ของการเรียนรู้. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://mediathailand.blogspot.com/2012/03/e- learning.html.(วันที่ค้นข้อมูล: 2 มกราคม 2555).
[3] พรเทพ เมืองแมน. 2544. การออกแบบและพัฒนา CAI Multimedia ด้วย Authorware. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
[4] ไพโรจน์ ตีรณธนากุล ไพบูลย์ เกียรติโกมล และเสกสรรค์ แย้มพินิจ. 2554. เทคนิคการผลิตบทเรียน เรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อการ ศึกษาทางไกลบนอินเทอร์เน็ต (E-Lerning). กรุงเทพฯ: สื่อเสริมกรุงเทพ
[5] ชัยยงค์ พรหมวงศ์ สมเชาว์ เนตรประเสริฐ และสุดา สินสกุล. 2555. ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์
[6] พิชิต ฤทธิ์จรูญ. 2552. หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: เฮ้าท์ ออฟ เคอร์มีสท์.
[7] พิทยา ตาแก้ว. 2553. บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่องการวิเคราะห์และออกแบบระบบ สารสนเทศสำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาวิทยาศาสตร์ (คอมพิวเตอร์) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
[8] กรรณิการ์ มักเจียว. 2555. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องการสร้างงานกราฟิกด้วยโปรแกรม สำเร็จรูป โรงเรียนนวมินทราชินูทิศสตรีวิทยา ๒. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาวิทยาศาสตร์ (คอมพิวเตอร์) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
[9] อรญา จำเริญ. 2555. พัฒนาบทเรียนผ่านเว็บเพื่อการทบทวน เรื่ององค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารครุศาสตร์ อุตสาหกรรม, 11(1), น. 51- 58.
[10] มาณี คุสิตา. 2555. การพัฒนาบทเรียนออนไลน์สำหรับการเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง หลักการแก้ปัญหากับภาษาคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชำนาญสามัคคีวิทยา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 11(1), น. 59-67.
[11] วรัญญู ต้นแก้ว. 2555. การพัฒนาสื่อหลายมิติแบบปรับตัว เพื่อทบทวนเรื่องระบบเลขฐานสอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 โรงเรียนบางละมุง. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 11(1), น. 68-74.
[12] จิรวัฒน์ นนตระอุดร. 2555. บทเรียนผ่านเครือข่าย อินเทอร์เน็ตเพื่อการทบทวน เรื่องการใช้งานระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เบื้องต้น วิชาไมโครคอมพิวเตอร์และการใช้งาน 1 สำหรับนักเรียนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ แผนกวิชาอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 11(1), น. 172-179.
[13] ปิยะพงษ์ พุ่มประเสริฐ. 2556. การพัฒนาบทเรียน คอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การใช้อินเทอร์เน็ตและ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสืบค้นข้อมูลเพื่องานอาชีพ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 12(2), น. 26-31.นพดล จักรแก้ว. 2556. การพัฒนาบทเรียนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทบทวน เรื่อง ภาษาซี วิชาการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้าง. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 12(2), น. 32-37.