การศึกษาเจตคติต่อวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเซนต์หลุยส์ ฉะเชิงเทรา

Main Article Content

หทัยชนก ศรีชนะวัฒน์
ไพฑูรย์ พิมดี
เลิศลักษณ์ กลิ่นหอม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบเจตคติต่อวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน จำแนกตามระดับชั้น และการมีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ที่บ้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเซนต์หลุยส์ ฉะเชิงเทรา ที่ศึกษาอยู่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 260 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเจตคติต่อวิชาคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเจตคติต่อวิชาคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นมาตราส่วนแบบประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 35 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ทดสอบที (t-test) for Independent Sample Test วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่โดยวิธีของ Scheffe' ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีเจตคติต่อวิชาคอมพิวเตอร์โดยภาพและรายด้านรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) นักเรียนที่มีและไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ที่บ้าน มีเจตคติต่อวิชาคอมพิวเตอร์ทั้งรายด้านและภาพรวม ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) นักเรียนที่เรียนระดับชั้นต่างกัน มีเจตคติต่อวิชาคอมพิวเตอร์ด้านคุณประโยชน์ ด้านกิจกรรม และภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
ศรีชนะวัฒน์ ห., พิมดี ไ., & กลิ่นหอม เ. (2015). การศึกษาเจตคติต่อวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเซนต์หลุยส์ ฉะเชิงเทรา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(2), 268–274. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122384
บท
บทความวิจัย

References

[1] มะลิสา ไชยวิเศษ. 2554. เจตคติและพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูงสถาบัน อาชีวศึกษา. วารสารครุศาสตร์ อุตสาหกรรม, 10(1), น.135-143.

[2] กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. 2551.หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

[3] พรณรงค์ สิงห์สำราญ. 2550. เจตคติของนักศึกษา วิทยาลัยนอร์กรุงเทพที่มีต่อคุณธรรมจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.northbkk.ac.th/Dept/ReserchOffice/pdf/05.pdf (07 มกราคม 2557).

[4] ธรรมรงค์ กันทัด. 2554. ความต้องการในการพัฒนาเจตคติ ความรู้ และทักษะวิชาเกษตรของครูเกษตรในโรงเรียนขยายโอกาส กลุ่มกรุงเทพตะวันออก.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาครุศาสตร์เกษตร บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[5] เกษตรชัย บำรุงธรรม. 2551. การศึกษาเจตคติต่อวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนในช่วงชั้นที่ 3 สังกัดกองการศึกษาเทศบาลนคร สมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาวิทยาศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[6] ธีระพงษ์ วงศ์สุวรรณ. 2542. เจตคติต่อวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนวิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สังกัดสำนักงาน การประถมศึกษา อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการ ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

[7] ดุษฎี วัฒนคามินทร์. 2544. เจตคติต่อวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแผนการเรียนธุรกิจ สังกัดกรม สามัญศึกษา เขตการศึกษา 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาธุรกิจศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัศรีนครินทรวิโรฒ.