การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้วยรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ เรื่องคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียน ด้วยรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ เรื่องคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา อำเภอศรีราขา จังหวัดชลบุรี ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียน เป็นจำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แบบประเมินคุณภาพของบทเรียน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.67–1.00 ค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.23–0.78 ค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.24–0.64 และมีค่าความเชื่อถือได้ (KR 20) เท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S) และการทดสอบค่าที (t-test) ชนิดสองกลุ่มไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัย พบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้วยรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ เรื่องคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีคุณภาพด้านเนื้อหา และด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดียอยู่ในระดับดี ( = 4.10, S = 0.32) มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.44/82.79 และนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งเอาไว้
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] มนต์ชัย เทียนทอง. 2544. WBI (Web-Based Instruction) WBT (Web-based Training). วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 13(3), น.72-78.
[3] คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2542. การปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
[4] ทิศนา แขมมณี. 2554. ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[5] มนต์ชัย เทียนทอง. 2547. e-Learning : การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเว็บตามแนวคิดวิธีการระบบ (System Approach) ตอนที่ 2. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 16(49), น.65-72.
[6] ไพโรจน์ ตีรณธนากล ไพบูลย์ เกียรติโกมล และเสกสรรค์ แย้มพินิจ. 2542. เทคนิค การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์การสอน. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
[7] ชัยยงค์ พรหมวงศ์. 2537. ชุดการสอนระดับประถมศึกษาในเอกสารการสอนชุดวิชา สื่อ การสอนระดับประถมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 13. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
[8] Bloom B.S. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, the classification of educational goals – Handbook I: Cognitive Domain. New York: McKay.
[9] พูนศรี อาภรณ์รัตน์. 2548. การพัฒนาความ สามารถในการแก้โจทย์ปัญหา และการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 3ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการนิเทศ ภาควิชาหลักสูตรและวิธีการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร.
[10] มาณี คุสิตา พรรณี ลีกิจวัฒนะ และพีระวุฒิ สุวรรณจันทร์. 2554-55. การพัฒนาบทเรียน ออนไลน์สำหรับการเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง หลักการแก้ปัญหากับภาษาคอมพิวเตอร์ สำหรับ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชำนาญสามัคคีวิทยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหา บัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง.
[11] เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิตย์. 2528. เทคโนโลยี ทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[12] พนมพร เผ่าเจริญ. 2542. เทคนิคการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้. เอกสารการประเมินผล โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการศูนย์วิจัยและบริการการศึกษา สถาบันราชภัฏนครสวรรค์. (เอกสารอัดสำเนา)
[13] พุทธินันท์ นาคสุข. 2549. การพัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรม บัณฑิต. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[14] กรมวิชาการ. 2543. แนวทางการนำมาตรฐานหลักสูตรไปสู่การออกแบบการจัดการเรียนรู้ และวัดผลตามสภาพจริง. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ.
[15] ชีวพร ตปนียากร. 2538. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และ ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จังหวัด นครศรีธรรมราช ที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือและวิธีเรียนตามปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิ ราช.
[16] สิริลักษณ์ พงศ์พฤฒิชัย. 2556. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง ความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเจี้ยนหัว. วารสารวิชาการ, 2(6), น.26-31.