การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ

Main Article Content

ลัดดาวัลย์ ไตรมณี
บุญจันทร์ สีสันต์
ทนงศักดิ์ โสวจัสสตากุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา หาคุณภาพ ประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนกับหลังเรียน ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศสวนกุหลาบวิทยาลัยสมุทรปราการ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 50 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แบบประเมินคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.24 - 0.80 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 - 0.52 และค่าความเชื่อถือเท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} ), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S), และการทดสอบค่า t-test แบบ dependent samples


ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี ( gif.latex?\bar{x}= 4.30, S = 0.72) เมื่อแยกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดี ( gif.latex?\bar{x}= 4.30, S = 0.75) และด้านเทคนิคการผลิตสื่ออยู่ในระดับดี ( gif.latex?\bar{x}= 4.29, S = 0.70) มีค่าประสิทธิภาพของบทเรียน E1/E2 = 84.40/89.60 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
ไตรมณี ล., สีสันต์ บ., & โสวจัสสตากุล ท. (2015). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(3), 121–127. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122368
บท
บทความวิจัย

References

[1] กระทรวงศึกษาธิการ. 2555. แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: สำนักงาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จำกัด.

[2] มนต์ชัย เทียนทอง. 2545. การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์สาหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบัน เทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

[3] ถนอมพร เลาหจรัสแสง. 2541. หลักการออกแบบและการสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วย โปรแกรม Multimedia ToolBook. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วงกมล โพรดักชัน.

[4] ไพโรจน์ ตีรณธนากุล และคณะ. 2546. การออกแบบและการผลิตบทเรียน คอมพิวเตอร์การสอนสำหรับ e-Learning. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

[5] ชัยยงค์ พรหมวงศ์. 2556. การทดสอบประสิทธิภาพสื่อการสอนหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, (5)1, น.7-19.

[6] บุญชม ศรีสะอ้าน. 2554. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

[7] พรรณี ลีกิจวัฒนะ. 2555. วิธีการวิจัยทาง การศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: ครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[8] พรเทพ เมืองแมน. 2544. การออกแบบ และพัฒนา CAI multimedia ด้วย Authorware. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

[9] อภินัทธ์ ดำมินเสก. 2557. พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง เบญจศีล สำหรับ นักเรียนโรงเรียนพิจิตรปัญญานุกูล จังหวัดพิจิตร. การประชุมวิชาการทางการศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 4 “การพัฒนาประสบการเรียนรู้จริง: กระบวนทัศน์การเรียนรู้สู่อาเซียน”, น. 157- 164.

[10] กมลรัตน์ สมใจ. 2546. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ เรื่องการทำงานในระบบคอมพิวเตอร์สถาบันราชภัฏ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหา บัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยา ศาสตร์ (คอมพิวเตอร์) บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[11] นภดล จักรแก้ว เลิศลักษณ์ กลิ่นหอม และรวีวรรณ ชินะตระกูล. 2556. การพัฒนาบทเรียนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อ การทบทวน เรื่อง ภาษาซี วิชาการ เขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้าง. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, (12)2, น. 32-37.

[12] นภมณ สากุล ฉันทนา วิริยเวชกุล และอรรถพร ฤทธิเกิด. 2553. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง กรรมวิธีการผลิตโลหะ เหล็ก. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, (9)2, น. 174-179.

[13] ยุธทวี ทองโอเอี่ยม. 2556. “บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบแก้ปัญหา เรื่อง การเขียน โปรแกรมภาษาแลดเดอร์ ไดอะแกรม สำหรับโปรแกรมเมเปิลลอจิกคอนโทรลเลอร์” การประชุมวิชาการทางการ ศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 4 “การพัฒนา ประสบการเรียนรู้จริง: กระบวนทัศน์การเรียนรู้สู่อาเซียน” น. 48-55.