การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน

Main Article Content

วราลี สิริปิยธรรม
กฤษณา คิดดี
ผดุงชัย ภู่พัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง การปลูกพืชไร้ดิน ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมวัดบึงทองหลาง จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 40 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ที่เลือกเรียนวิชาการปลูกพืชไร้ดิน เวลาที่ใช้ในการทดลอง 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน แบบประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  จำนวน 60 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่ายเท่ากับ 0.40-0.65 ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.20-0.55 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 และแบบทดสอบวัดทักษะการคิดแก้ปัญหา จำนวน 20 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่ายเท่ากับ 0.38-0.68 ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.25-0.65 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและ t-test แบบ dependent samples ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่องการปลูกพืชไร้ดิน ในภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน มีทักษะการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
สิริปิยธรรม ว., คิดดี ก., & ภู่พัฒน์ ผ. (2015). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(2), 221–227. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122341
บท
บทความวิจัย

References

[1] กรมวิชาการ. 2549.วารสารวิชาการ, 9(2), น.127- 132.

[2] อภิชาตนันท์ อนันนับ. 2554.การนำหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนวิชาเกษตรในโรงเรียน มัธยมศึกษา สำกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต3. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 11(1). น.38.

[3] เชาวลิต ชูกำแพง. 2551. การพัฒนาหลักสูตร. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคราม.

[4] สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ การศึกษา. 2554. รายงานการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาประจำปี การศึกษา2554. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

[5] กฤษฎา คูหาเรืองรอง. 2553. การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และเจตคติต่อวิชาการงานอาชีพและ เทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างกลุ่มที่จัดการเรียนรู้แบบโครงงาน และแบบวัฏจักรการเรียนรู้. การศึกษา มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเรียนรู้ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

[6] Bloom, Benjamin S. 1956. Taxonomy of Education Objective Handbook I : Cognitive Domain. New York: David Mackey Company,Inc.

[7] Weri, John Joseph. 1974. Problem Solving is Everbody’s Problem. Science Teacher,(4), p. 16-18.

[8] พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2536. วิธีการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : ฟิงเกอร์ปริ้น แอนด์ มีเดีย.

[9] ศิริบัญชา จันทรโคตร. 2549. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดวิเคราะห์ และเจตคติต่อการเรียนรู้การงาน อาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการปลูกพืช ไร้ดินโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน และกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ CIPPA ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคราม.

[10] วิไล พลเยี่ยม. 2552. การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้การเรียนการสอนแบบโครงงาน ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6.วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน,1(1), น.53.

[11] ณัฐพร เลิศพิทยาภูมิ. 2549. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาแลวัฒนธรรม ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหา และพฤติกรรม ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิต ในกรุงเทพมหานคร. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.