การพัฒนาแบบวัดภาคปฏิบัติเรื่องการเชื่อมไฟฟ้าของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดภาคปฏิบัติ เรื่อง การเชื่อมไฟฟ้าของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพที่มีคุณภาพ แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรก เป็นการสร้างแบบวัดภาคปฏิบัติเรื่องการเชื่อมไฟฟ้าของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างคืออาจารย์ที่มีประสบการณ์ในการสอนวิชาช่างเกษตรเบื้องต้น ไม่น้อยกว่า 5 ปี หรืออาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถในด้านการวัดผลทางการศึกษาจำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดการปฏิบัติงานการเชื่อมไฟฟ้า จำนวน 1 ฉบับ ซึ่งประกอบด้วยแบบวัด 2 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 แบบวัดกระบวนการปฏิบัติงาน เป็นแบบสังเกตการปฏิบัติงาน ตอนที่ 2 แบบวัดผลการปฏิบัติงาน เป็นแบบสังเกตผลการปฏิบัติงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ผลการวิจัยพบว่าแบบวัดภาคปฏิบัติดังกล่าวมีความตรงเชิงเนื้อหาโดยพิจารณาค่า IOC (Index of Item – Objective Congruency) ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80-1.00
ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาแบบวัดภาคปฏิบัติเรื่องการเชื่อมไฟฟ้าของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีขอนแก่นที่ลงทะเบียนเรียน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 30 คนและอาจารย์ที่มีประสบการณ์ในการสอนในวิชาช่างเกษตรเบื้องต้น ไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวน 2 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดการปฏิบัติงานการเชื่อมไฟฟ้า จำนวน 1 ฉบับ ซึ่งประกอบด้วยแบบวัด 2 ตอน ตอนที่ 1 แบบวัดกระบวนการปฏิบัติงาน เป็นแบบสังเกตการปฏิบัติงาน 54 ข้อ ตอนที่ 2 แบบวัดผลการปฏิบัติงาน เป็นแบบสังเกตผลการปฏิบัติงาน 6 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และหาความตรงเชิงจำแนก โดยการทดสอบค่าที ใช้ t-test for independent samples ผลการวิจัยพบว่าแบบวัดภาคปฏิบัติเรื่องงานเชื่อมไฟฟ้าสำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพที่พัฒนาขึ้นมีค่าความตรงเชิงจำแนกของแบบวัดกระบวนการปฏิบัติงานเท่ากับ 3.643 ความตรงเชิงจำแนกแบบวัดผลของการปฏิบัติงานเท่ากับ 3.750 และมีค่าความเที่ยงระหว่างผู้ประเมิน 2 คน โดยพิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ซึ่งมีค่าเท่ากับ .952 และ .885
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] สมนึก ภัททิยธานี. 2543. การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
[3] จินตนา ธนวิบูลย์ชัย. 2535. ความเที่ยงตรงปัญหาแนวคิดใหม่. วารสารการวัดผลการศึกษา, 13(39), น. 63-90.
[4] กระทรวงศึกษาธิการ. 2554. แนวทางการนำมาตรฐานหลักสูตรไปสู่การออกแบบจัดการเรียนรู้และการวัดประเมินตามสภาพจริง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
[5] กระทรวงศึกษาธิการ. 2544. แนวคิดและนโยบายกระทรวงศึกษาธิการพื้นฐานการปฏิรูปการศึกษาเพื่อประชาชน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
[6] กระทรวงศึกษาธิการ. 2545. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
[7] กระทรวงศึกษาธิการ, กรมอาชีวศึกษา. 2546. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ.2546). กรุงเทพฯ: กรมอาชีวศึกษา.
[8] สุวิมล ว่องวาณิช. 2550. การประเมินผลการเรียนรู้แนวใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[9] พรรณี ลีกิจวัฒนะ. 2553. วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
[10] สุรชัย สิงห์เผ่น. 2550. การสร้างแบบวัดภาคปฏิบัติกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชาช่างเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้า ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
[11] ฉัตรชัย พันธ์นุรัตน์. 2545. การพัฒนาแบบวัดภาคปฏิบัติวิชาชีพเกียร์อัตโนมัติ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนอาชีวศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
[12] ศตวัฒน์ มงคลดิษฐ์. 2554. การพัฒนาแบบวัดภาคปฏิบัติ วิชาเครื่องมือวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
[13] เกษมศิริ มีทอง. 2551. การสร้างแบบวัดภาคปฏิบัติวิชางานเครื่องยนต์เบื้องต้นตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุงพ.ศ.2546) ของวิทยาลัยการอาชีพกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.