การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง หลักการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ ด้วยรูปแบบการสอนแบบร่วมมือ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย

Main Article Content

ชูชีพ สุธรรม
ฐิยาพร กันตาธนวัฒน์
ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง หลักการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เรื่อง หลักการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง หลักการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์  ที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือกับวิธีสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (cluster random sampling) จำนวน 3 ห้องเรียน 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือและแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 2) บทเรียนมัลติมีเดีย 3) แบบประเมินคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบประเมินคุณภาพของบทเรียนมัลติมีเดีย และ5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน


ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง หลักการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ มีคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดี ( gif.latex?\bar{x} =  4.36) คุณภาพด้านเทคนิคการผลิตสื่ออยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{x}  = 4.28) และประสิทธิภาพของบทเรียน (E1/E2) เท่ากับ 80.09/83.33  2) รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{x}  =  4.35) และประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนแบบร่วมมือ (E1/E2) เท่ากับ 80.16/83.33  และ 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบร่วมมือ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง หลักการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
สุธรรม ช., กันตาธนวัฒน์ ฐ., & ตั้งคุณานันต์ ป. (2016). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง หลักการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ ด้วยรูปแบบการสอนแบบร่วมมือ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 15(2), 56–63. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122334
บท
บทความวิจัย

References

[1] ฟาฏินา วงศ์เลขา. 2557. ปรับการเรียน เปลี่ยนการสอนใช้ ICT เพื่อปฏิรูปการเรียนรู้. [Online] เข้าถึงได้จาก : https://www.dailynews.co.th/Content /education/284606/‘ปรับการเรียน+เปลี่ยนการสอน’ใช้+ICT+เพื่อปฏิรูปการเรียนรู้

[2] วีระชัย บุญปก. 2557. บทเรียนออนไลน์ หมวดวิชาคอมพิวเตอร์วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ รหัสวิชา 4000108. [Online]. เข้าถึงได้จาก https://science.srru.ac.th/org/sci-elearning/index.php?mod=ShowCourse&group_=9&txtcourse=4000108

[3] สุคนธ์ สินธพานนท์ และจินตนา วีรเกียรติสุนทร. 2556. การจัดการเรียนรู้ครูยุคใหม่ สู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ : 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

[4] อาภรณ์ ใจเที่ยง. 2553. หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

[5] ทิศนา แขมมณี. 2555. ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สพจ.

[6] ไชยยศ เรืองสุวรรณ.2533. เทคโนโลยีการศึกษา ทฤษฏีและการวิจัย. กรุงเทพฯ: โอ.เอสพริ้นติ้ง เฮาส์.

[7] ณัฐกร สงคราม. 2554. การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: วี พริ้น (1991).

[8] รวีวัฒร์ สิริบาล. 2551. แนวทางการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ. วารสารวิชาการ,11(2),น. 19-23.

[9] ชัยยงค์ พรหมวงศ์ สมเชาว์ เนตรประเสริฐ และสุดา สินสกุล. 2520. ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[10] Anderson, L. W., & Krathwohl, D. (Eds.). (2001). A taxonomy for learning, teaching, and assessing: A revision of Bloom's taxonomy of educational objectives.New York : Longman.

[11] จิรพงษ์ โลพิศ. 2550. การจัดการเรียนรู้วิชางานควบคุมเครื่องยนต์ด้วยอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี.

[12] นันทรัตน์ กลิ่นหอม. 2555 การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทบทวน เรื่อง ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม,11(2), น. 48-54.
Klinhom N. 2012. Development of Web-Based Instruction for Review on Computer Network in Fundamental Information Technology Subject. Journal of Industrial Education, 11(2), p.48-54

[13] ปิยะพงษ์ พุ่มประเสริฐ. 2556. การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การใช้อินเทอร์เน็ตและไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสืบค้นข้อมูลเพื่องานอาชีพ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 12.(2), น. 26-31.
Pumpresert, P. 2013. Development of web-based instruction of the use of internet searching and e-mail communication for occupation. Journal of Industrial Education, 12(2), p.26-31.

[14] ปรวี อ่อนสะอาด. 2556. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังจากการจัดการเรียนการสอนแบบกลุ่มช่วยรายบุคคล (TAI) กับการสอนปกติ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.