การพัฒนาบทเรียนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องการติดตั้งและใช้งานระบบปฏิบัติการเครือข่าย สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ

Main Article Content

นราภรณ์ บัวนุช
พรรณี ลีกิจวัฒนะ
ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาบทเรียนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องการติดตั้งและใช้งานระบบปฏิบัติการเครือข่ายให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียน    ด้วยบทเรียนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 60 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จำนวน 30 คน เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน และกลุ่มที่ 2 จำนวน 30 คน เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย บทเรียนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แบบประเมินคุณภาพของบทเรียน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.25-0.77 ค่าอำนาจจำแนก 0.20-0.47 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบไม่อิสระต่อกัน (t-test for dependent)


ผลการวิจัยพบว่า 1)dบทเรียนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตfมีคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.76) และด้านเทคนิคการผลิตสื่ออยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.80) 2) บทเรียนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตdมีประสิทธิภาพ ( E1 /E2 )dเท่ากับ 82.33/80.33 และ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียนด้วยบทเรียนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
บัวนุช น., ลีกิจวัฒนะ พ., & ตั้งคุณานันต์ ป. (2015). การพัฒนาบทเรียนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องการติดตั้งและใช้งานระบบปฏิบัติการเครือข่าย สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(2), 180–186. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122328
บท
บทความวิจัย

References

[1] อรญา จำเริญศรี. 2554-2555. การพัฒนาบทเรียนผ่านเว็บเพื่อการทบทวน เรื่ององค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 11(1), น. 51-58.

[2] กิดานันท์ มลิทอง. 2548. เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์.

[3] ถนอมพร เลาหจรัสแสง. 2541. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[4] กิดานันท์ มลิทอง. 2543. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร : อรุณการพิมพ์.

[5] ใจทิพย์ ณ สงขลา. 2542. การสอนผ่านเครือข่ายเวิล์ดไวด์เว็บ.วารสารคณะครุศาสตร์, 27(2), น.18-28.

[6] วิชุดา รัตนเพียร. 2542. การเรียนการสอนผ่านเว็บ ทางเลือกใหม่ของเทคโนโลยีทางการศึกษาไทย. วารสารคณะครุศาสตร์. 27(2), น.29-35.

[7] สรรรัชต์ ห่อไพศาล. 2544. การพัฒนาระบบการเรียนการสอนผ่านเว็บวิชาศึกษาทั่วไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโสตทัศนศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[8] ถนอมพร เลาหจรัสแสง. 2541. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ : วงกมลโปรดักชั่น.

[9] พรเทพ เมืองแมน. 2544. หลักการออกแบบและพัฒนา CAI Multimedia ด้วย Authorware. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

[10] ไพโรจน์ ตีรณธนากุล และคณะ. 2546.การออกแบบและผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์การสอนสำหรับ E-Learning.กรุงเทพฯ : โรง พิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[11] ชัยยงค์ พรหมวงศ์ สมเชาว์ เนตรประเสริฐ และสุดา สินสกุล. 2520. ระบบสื่อการสอน.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

[12] พิชิต ฤทธิ์จรูญ. 2552. หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ : เฮ้าท์ ออฟ เคอร์มีสท์.

[13] พรรณี ลีกิจวัฒนะ. 2553. วิธีวิจัยทางการศึกษา.กรุงเทพฯ: ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม

[14] พิทยา ตาแก้ว. 2552. การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม.9(1), น.29-137.

[15] ดิฐประพจน์ สุวรรณศาสตร์. 2554. การพัฒนา บทเรียนผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อการทบทวนเรื่อง การวิเคราะห์และ ออกแบบฐานข้อมูลสำหรับนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิตสาขา วิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ (คอมพิวเตอร์) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[16] ณัฐชนัญ เสริมศรี. 2553. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบทบทวนผ่านระบบเครือข่ายวิชาเขียนโปรแกรมบนระบบ ปฏิบัติการGUI .วิทยานิพนธ์ครุศาสตร อุตสาหกรรม มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

[17] กิตติศักดิ์ สิงห์สูงเนิน. 2549. การพัฒนาบทเรียนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อการทบทวนเรื่องการส่งสัญญาณแบบแอนา ล็อกและดิจิตอล วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยสถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[18] รีรัต ชูพิชัย. 2551. การวิจัยเพื่อพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการทบทวนเรื่องแบบจำลองความสัมพันธ์ระหว่าง ข้อมูล วิชาระบบฐานข้อมูล วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาวิทยาศาสตร์ (คอมพิวเตอร์) คณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.