การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง เรื่อง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และวงจร ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนา หาคุณภาพ ประสิทธิภาพ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียน หลังเรียน 3) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง เรื่องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และวงจร โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 3 วิทยาลัยเทคโนโลยี ดอนบอสโก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 62 คน 2 ห้องเรียน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม จากประชากรทั้งหมด 6 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง เรื่อง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และวงจร แบบประเมินคุณภาพของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.66 – 1.00 ค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.34 – 0.78 ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.21 – 1.00 และค่าความเชื่อมั่น (KR-20) เท่ากับ 0.77 และแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักเรียนมีค่าความเชื่อมั่น 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าเฉลี่ย () ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S) และการทดสอบค่าที (t-test) ชนิดสองกลุ่มไม่อิสระต่อกัน (t-test Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง เรื่องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และวงจร มีคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก (= 4.59, S = 0.53) ส่วนด้านเทคนิคการผลิตสื่อ มีคุณภาพอยู่ในระดับดี (
= 4.34, S = 0.66) โดยมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ E1 = 80.98 และ E2 = 87.38 ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักเรียนอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก โดยมีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ (
= 4.03, S = 0.77)
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] สุจิตรา ปุราชโก. 2556. Web Based Learning หรือ WBI. E-Learning ที่ไม่ยอมหยุดนิ่ง, 2(1), น. 3
[3] วรวิทย์ นิเทศศิลป์. 2551. สื่อและวัตกรรมแห่งการเรียนรู้. ปทุมธานี: พี เอ็น เคแอนด์สกายบุ๊กส์.
[4] สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2542. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
[5] Guglielmino. 1977. Self –Directed Learning. Retrieved April 9, 2014 https://www.sahavicha.com/?name=article&file=readarticle&id=1302
[6] บุญเลี้ยง ทุมทอง. 2556. ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เอสพริ้นติ้ง ไทยแฟคตอรี่.
[7] กระทรวงศึกษาธิการ. 2545. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกระทรวงศึกษาธิการ.
[8] ณัฐกร สงคราม. 2554. การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[9] ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2533. เทคโนโลยีการออกแบบ และพัฒนา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
[10] ชัยยงค์ พรหมวงศ์. 2521. ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[11] ชวลิต ชูกำแพง. 2550. การประเมินการเรียนรู้. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
[12] ไพรบูลย์ กุลด้วง ศิริรัตน์ เพ็ชร์แสงศรี และฉันทนาวิริยเวชกุล. 2558. บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการฝึกอบรมที่มีชุดโปรแกรมจำลองเสมือนจริง เรื่องการควบคุมระบบไฟฟ้าอุตสาหกรรมด้วยโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(1), น. 212-219.
Kulduang, P. Petsangsri, S. and Viriyavejakul, C. 2015. Web-Based Training with Embedded Simulator on lndustrial Electrical Control System by Programmable Logic Controller. Journal of Industrial Education, 14(1),p.212-219.
[13] กันหา ราชโคตร. 2557. การพัฒนาบทเรียนบน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาการเขียนโปรแกรมจาวา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[14] พรทิพย์ ชูศรี. 2556. การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องการถ่ายภาพ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[15] แสงเดือน เจริญฉิม และคณะ. 2555. ความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเองของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วิทยานิพนธ์ปริญญาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.