ตัวแปรที่ส่งผลต่อความมีวินัยในการใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่าย วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความมีวินัย ตัวแปรที่ส่งผลต่อความมีวินัย และสมการพยากรณ์ความมีวินัยในการใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนโรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ ปีการศึกษา 2556 โดยสุ่มแบบแบ่งชั้นตามระดับชั้นเรียน จำนวน 286 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามสภาพแวดล้อมทางด้านตัวสื่อและทางด้าน สถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .81 และ .70 ตามลำดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .80 – 1.00 แบบสอบถามด้านนิสัยการเรียนและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 และ .96 ตามลำดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .80 - 1.00 แบบสอบถามด้านเจตคติมีค่าอำนาจการจำแนกอยู่ระหว่าง 4.53 - 7.24 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 และค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง .80 – 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิเคราะห์พบว่า นักเรียนมีวินัยในการใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่าย อยู่ในระดับมาก ความมีวินัยในการใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายมีความสัมพันธ์ทางบวกกับเจตคติต่อการใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่าย สภาพแวดล้อมของตัวสื่อ นิสัยการเรียน สภาพแวดล้อมของสถานศึกษา และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (rxy) เท่ากับ .766 , .721 , .675, .673 และ .642 ตามลำดับ โดยตัวแปรที่ส่งผลต่อความมีวินัยในการใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่าย ประกอบด้วย เจตคติต่อการใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่าย(X3) สภาพแวดล้อมของตัวสื่อ(X1) นิสัยการเรียน(X4) สภาพแวดล้อมของสถานศึกษา(X2) และแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์(X5) โดยตัวแปรเหล่านี้สามารถพยากรณ์ความมีวินัยในการใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนได้ร้อยละ 74.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 โดยมีสมการพยากรณ์ ดังนี้
สมการพยากรณ์ความมีวินัยในการใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายของนักเรียนในรูปคะแนนดิบ คือ
Y = 0.335+0.268X3+0.216X1+0.151X4+0.122X2 +0.129X5
สมการพยากรณ์ความมีวินัยในการใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายของนักเรียนในรูปคะแนนมาตราฐานคือ
Zy = 0.304ZX3+0.303ZX1+0.156ZX4+ 0.155ZX2+0.137ZX5
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] สมหมาย วินทะไชย. 2552. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยการ ศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
[3] กมล เรืองจุ้ย. 2554. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรู้และเจตคติเกี่ยวกับระบบอีเลิร์นนิ่งสำหรับการฝึกอบรมบุคลากรกรณีศึกษา:บริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย)จำกัด. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 10 (ฉบับพิเศษ), 230-238.
[4] ปวิชญา ผาสุข. 2553. การศึกษาปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาภาคปกติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[5] จันทิมา แสงเลิศอุทัย. 2552. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสารศึกษาศาสตร์, 32(4), 47-53
[6] พรหมศิริ วงศ์ธนบัตร. 2555. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
[7] กฤชอร รัศมีรัชกุล. 2555. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยของนักศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.