การออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์สัญลักษณ์เครือข่ายฟื้นฟูชุมชน เมืองเชิงอนุรักษ์ย่านป้อมปราบศัตรูพ่าย-พระนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสื่อประชาสัมพันธ์สัญลักษณ์เครือข่ายฟื้นฟูชุมชนเมืองเชิงอนุรักษ์ย่านป้อมปราบศัตรูพ่าย-พระนคร 2) ออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์สัญลักษณ์เครือข่ายฟื้นฟูชุมชนเมืองเชิงอนุรักษ์ย่านป้อมปราบศัตรูพ่าย-พระนคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สมาชิกเครือข่ายฟื้นฟูชุมชนเมืองเชิงอนุรักษ์ย่านป้อมปราบศัตรูพ่าย-พระนคร จำนวน 55 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์สัญลักษณ์เครือข่ายฟื้นฟูชุมชนเมืองเชิงอนุรักษ์ย่านป้อมปราบศัตรูพ่าย-พระนคร 2) แบบสอบถามความเหมาะสมของเนื้อหาเพื่อใช้สำหรับการนำเสนอข้อมูลชุมชน 3) แบบประเมินการออกแบบสัญลักษณ์เครือข่ายฟื้นฟูชุมชนเมืองเชิงอนุรักษ์ย่านป้อมปราบศัตรูพ่าย-พระนคร และ 4) แบบประเมินการออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์สัญลักษณ์เครือข่ายฟื้นฟูชุมชนเมืองเชิงอนุรักษ์ย่านป้อมปราบศัตรูพ่าย-พระนคร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยสรุปว่า
1. องค์ประกอบในการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์สัญลักษณ์เครือข่ายฟื้นฟูชุมชนเมืองเชิงอนุรักษ์ย่านป้อมปราบศัตรูพ่าย-พระนครที่สมาชิกเครือข่ายฟื้นฟูชุมชนเมืองเชิงอนุรักษ์ย่านป้อมปราบศัตรูพ่าย-พระนครต้องการ ประกอบด้วย รูปแบบสัญลักษณ์อย่างไทยประยุกต์ ตัวอักษรแบบตัวอาลักษณ์ กลุ่มสีร้อน ข้อความประกอบที่เน้นความสำคัญด้านวิถีชีวิต/การประกอบอาชีพ และใช้ภาพถ่ายจริง
2. การสร้างสัญลักษณ์เครือข่ายฟื้นฟูชุมชนเมืองเชิงอนุรักษ์ย่านป้อมปราบศัตรูพ่าย-พระนคร ผู้วิจัยได้ออกแบบมา 3 รูปแบบโดยรูปแบบที่ 2 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด( = 4.54, S.D. = 0.43) และการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์สัญลักษณ์เครือข่ายฟื้นฟูชุมชนเมืองเชิงอนุรักษ์ย่านป้อมปราบศัตรูพ่าย-พระนคร ผู้วิจัยได้ออกแบบมา 3 รูปแบบ รูปแบบที่ 2 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (
=4.52, S.D. = 0.58)
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] ชาญชัย รอดเลิศ พิชัย สดภิบาล และอุดมศักดิ์ สาริบุตร.2554. การศึกษาและออกแบบสื่อการเรียนรู้งานศิลปหัตถกรรมปลา ตะเพียนสาน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 10(3), น.54-63.
[3] Napoles, Veronica. 1998. Corpoate identity design. New York: Van Nostrand Reinhold.
[4] Wheeler, Alina. 2009. Designing brand identity : an essential guide for the entire branding team. Hoboken, NJ: John Wiley.
[5] สุมิตรา ศรีวิบูลย์. 2547. การออกแบบอัตลักษณ์ = Corporate identity. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ: เลิฟแอนด์ลิฟเพรส.
[6] กรรณิการ์ อัศวดรเดชา. 2544. สื่อและเครื่องมือเพื่อการประชาสัมพันธ์ = Media and tools for public relations. กรุงเทพฯ: โครงการตำราคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
[7] พรทิพย์ พิมลสินธุ์. 2545. การวิจัยเพื่อการประชา-สัมพันธ์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ประกายพรึก.
[8] อรุณรัตน์ ชินวรณ์. 2553. สื่อประชาสัมพันธ์= Public Relation Media. กรุงเทพฯ: วี. พรินท์.
[9] ดวงแก้ว สิงห์ทอง. 2552. การออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์สำหรับอัตลักษณ์ผ้าทอเกาะยอ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
[10] ทองเจือ เขียดทอง. 2548. การออกแบบสัญลักษณ์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สิปประภา.
[11] อารยะ ศรีกัลยาณบุตร. 2550. การออกแบบสิ่งพิมพ์. กรุงเทพฯ: วิสคอมเซ็นเตอร์.
[12] ชัยรัตน์ อัศวางกูร. 2548. ออกแบบให้โดนใจ : คู่มือการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผู้ประกอบการและนักออกแบบ. กรุงเทพฯ: ทั้งฮั่วซินการพิมพ์.