การพัฒนาชุดฝึกอบรมเรื่อง การสร้างหุ่นยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาคุณภาพรวมทั้งประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรมเรื่อง การสร้างหุ่นยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถผ่านการทดสอบด้วยคะแนนร้อยละ 80 ขึ้นไป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยเอกสารประกอบการฝึกอบรม สื่อนำเสนอ แบบทดสอบ แบบประเมินรายการความสามารถและชุดฝึกการประดิษฐ์หุ่นยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นทั้งหมดได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการประกวดแข่งขันสิ่งประดิษฐ์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานทางเลือกจากแสงอาทิตย์ ระดับมัธยมศึกษา ครั้งที่ 2 ประจำปี 2556 จัดการแข่งขันโดย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จำนวน 20 คน ผลจากการวิจัยพบว่าชุดฝึกอบรมเรื่อง การสร้างหุ่นยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่สร้างขึ้นมีคุณภาพด้านเนื้อหาในระดับดี ( = 4.31, S.D. = 0.58) และด้านเทคนิคการผลิตสื่ออยู่ในระดับดีมาก (
= 4.55, S.D. = 0.43) และมีประสิทธิภาพเป็นร้อยละ 90 ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ผ่านการทดสอบด้วยคะแนนร้อยละ 80 ขึ้นไป เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในสมมุติฐานการวิจัย
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. 2556. รายงานผลการดำเนินงานโครงการ “สปีดโซล่าร์เซลล์..ขับเคลื่อนความเร็วด้วย พลังงานแสงอาทิตย์”. (เอกสารอัดสำเนา)
[3] มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. 2556. โครงการประกวดแข่งขันสิ่งประดิษฐ์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานทางเลือกจากแสงอาทิตย์ ระดับมัธยมศึกษาครั้งที่ 2. (เอกสารอัดสำเนา)
[4] กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม. กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน. 2543. คู่มือการพัฒนาชุดฝึก CBST. กรุงเทพฯ: สำนักที่ปรึกษา โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการพัฒนาฝีมือแรงงาน.
[5] สมชาย วรกิจเกษมสกุล. 2554. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. ค้นเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2557, จาก https://www.udru.ac.th/website/index.php/2011-12-01-03-25-36/685-2011-12- 01-03-24-27.html
[6] พรรณี ลีกิจวัฒนะ. 2553. วิธีการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
[7] ณศิริ เตชะเสน. 2554. วีดิทัศน์ ซีดี เพื่อการฝึกอบรม เรื่องความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 10(2), น.290-296.
[8] อนิวรรตน์ พลรักษ์. 2556. การสร้างและทดสอบประสิทธิภาพชุดฝึกอบรม เรื่องไมโคร คอนโทรลเลอร์และการประยุกต์ใช้งาน หุ่นยนต์พื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาไฟฟ้า บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[9] เกชา อยู่แก้ว. 2552. ชุดฝึกทักษะแบบฐานสมรรถนะเรื่อง การติดตั้งและการโปรแกรมชุมสายโทรศัพท์สาขาอัตโนมัติ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.