การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อความพึงพอใจ ในงานพยาบาลโรงพยาบาลหนองบัวลำภู
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ (1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพในงานพยาบาล โรงพยาบาลหนองบัวลำภู และ (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพในงานพยาบาล โรงพยาบาลหนองบัวลำภู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .972 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ พยาบาลวิชาชีพที่สังกัดในโรงพยาบาลหนองบัวลำภู จำนวน 154 คน ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพในงานพยาบาล (JSH) โรงพยาบาลหนองบัวลำภูโดยรวม อยู่ในระดับมาก โดยมีเฉลี่ยเท่ากับ 4.343 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.533 (2) การให้รางวัลทรัพยากรมนุษย์ (X2) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (X3) และการธำรงรักษาและป้องกันทรัพยากรมนุษย์ (X4) มีผลทางบวกต่อความพึงพอใจในงานพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในขณะที่การสรรหาทรัพยากรมนุษย์ (X1) ไม่มีผลต่อความพึงพอใจในงานโดยรวม นอกจากนี้พบว่าตัวแปรอิสระทุกตัวสามารถอธิบายความแปรผันของความพึงพอใจในงานโดยรวมได้ร้อยละ 80.9 (R2 = .809) และสามารถแสดงสมการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อความพึงพอใจในงานพยาบาล โรงพยาบาลหนองบัวลำภูโดยรวม มีรูปแบบของคะแนนมาตรฐาน ดังสมการ JSH10 = 0.077X1+0.203**X2+0.350**X3+0.319** X4
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] Spector, P.E. 1994. Job satisfaction survey. Tampa, FL: University of South Florida, Department of Psychology.
[3] โรงพยาบาลหนองบัวลำภู. 2548. วิสัยทัศน์และพันธกิจ. ค้นเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2557, จาก https://www.nbhospital.go.th
Spector, P.E. 1994. Job satisfaction survey. Tampa, FL: University of South Florida, Department of Psychology.Ivancevich, J. M. 1998. Human Resource Management. 7th ed. Boston: McGrawHill.
[4] ประคอง กรรณสูตร. 2542. สถิติศาสตร์ประยุกต์สำหรับครู. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
[5] ชูศรี วงศ์รัตนะ. 2537. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[6] Best, John W. 1981. Research in Education. New Jersey: Prentice-Hall inc.
[7] สมยศ นาวีการ. 2533. การบริหารเพื่อความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.
[8] Downs, C. W., & Hazen, M. 1977.A factor analytic study of communication satisfaction. Journal of Business Communication, 14, 63-73.
[9] ปรียาพร วงศ์นุตรโรจน์. 2547. จิตวิทยาบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
[10] French, Wendell. 1964. The Personnel Management Process. Boston: Houghton Miffin.
[11] เพ็ญพิชชา ล้วนดีและเยาวลักษณ์ อ่ำรำไพ. 2558. แรงจูงใจและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน). วารสารเกื้อการุณย์, 22(1), น. 48-59.
Lwandee P.,& Amrumpai Y. 2015. Job Motivation and Job Satisfaction among Nurses in Banphaeo Hospital Public Organization. Kuakarun Journal ofNursing, 22(1). p, 48-59.
[12] เขมมารี รักษ์ชูชีพและวิเชียร วิทยอุดม. 2553. ความพึงพอใจของลูกจ้างชั่วคราวสายวิชาการและสายสนับสนุนต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัยเทคเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.
[13] อุทุมพร รุ่งเรือง. 2555. ความพึงพอใจในการทำงาน ที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทอุตสาหกรรมแปรรูปโครงสร้างเหล็ก. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[14] ปวรรัตน เลิศสุวรรณเสรี. 2555. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยราชพฤกษ์ ประจำปีการศึกษา 2555. วิทยาลัยราชพฤกษ์. เอกสารรายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. (อัดสำเนา).
[15] เบญจมาศ โปร่งสันเทียะ. 2554. ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกสจังหวัดนครราชสีมา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 10(2), น.134-141.
Prongsantri B. 2011. Job Satisfaction of Operators in Electronic Industry at Nakhonratchasima Province. Journal of Industrial Education, 10(2). p. 134-141.
[16] กรองจิตต์ ยิ้มไพบูลย์. 2546. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรด้านระบบการเรียนการสอนทางไกล ระบบการสื่อสารสองทาง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
[17] เดชากร แก่นเมือง และพีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์. 2556. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน อำเภอขนอมจังหวัดนครศรีธรรมราช. เอกสารประกอบการประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่4. (เอกสารอัดสำเนา).
[18] พระสถิตย์ โพธิญาโณ. 2556. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
[19] เกรียงไกร เจียมบุญศรี และจักร อินทรจักร. 2544. คู่มือการบริหารทรัพยากรบุคคล. กรุงเทพฯ: บุ๊คแบงก์.