การพัฒนาชุดฝึกทักษะการเขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น เรื่องภาพฉาย สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการเขียนแบบ วิชาเขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น เรื่องภาพฉาย สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.1) วิทยาลัยเทคโนโลยีกรุงธน และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนใช้ชุดฝึกกับหลังใช้ชุดฝึกด้วยชุดฝึกทักษะการเขียนแบบ วิชาเขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น เรื่องภาพฉาย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.1) วิทยาลัยเทคโนโลยีกรุงธน ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 2 ห้อง ได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) แล้วแบ่งออกเป็นกลุ่มพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดฝึก 1 ห้อง จำนวน 45 คน และกลุ่มเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนใช้ชุดฝึกและหลังใช้ชุดฝึก 1 ห้อง จำนวน 45 คน เวลาที่ใช้ในการทดลอง 4 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดฝึกทักษะการเขียนแบบ 2) แบบฝึกหัดการเขียนแบบ 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการเขียนแบบ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างเนื้อหากับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม อยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 ดัชนีความยากอยู่ระหว่าง 0.66-0.70 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.22-0.28 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.854 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่า t-test dependent samples
ผลการวิจัยพบว่า
1) ชุดฝึกทักษะการเขียนแบบ วิชาเขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น เรื่องภาพฉาย ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.1) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.67/84.11 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80
2) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะการเขียนแบบ วิชาเขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น เรื่องภาพฉาย มีค่าคะแนนเฉลี่ยหลังใช้ชุดฝึกสูงกว่าก่อนใช้ชุดฝึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] สวาท จันทร. 2535. การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน เรื่อง การแบบภาพประกอบและภาพแยกชิ้นส่วน วิชาเขียนแบบเทคนิค 01 (MT 452) ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พุทธศักราช 2527. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเครื่องกล ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[3] สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ. 2542. การพัฒนาการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษา.กรุงเทพฯ: คุรุ สภาลาดพร้าว.
[4] สุมน อมรวิวัฒน์.2530. การสอนกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
[5] Seels, B., &Glasgow, Z.1998. Making Instructional Design Decisions. 2nd ed. Upper Saddle River. NJ: Merrill. [
6] ชัยยงค์ พรหมวงศ์. 2521. นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาการสอน.กรุงเทพฯ:ไทยวัฒนาพานิช.
[7] จุฑามาศ ตะเย็นกุล วลิดา เชาว์ไฝและปรีดา ศรีทาเวท.2556. การประเมินผลการปฏิบัติ. [Online]. เข้าถึงได้จาก (วันที่ค้นข้อมูล : 4 เมษายน 2558) :https://totoubon21.files.wordpress.com/2014/01/e0b8a3e0b8b2e0b8a2e0b887e0b8b2e0b899-performanceassessment.pdf.
[8] นภาพร วงค์เจริญ.2550. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิด แก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบพหุปัญญา.วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[9] พิจิตรา พิสุทธิ์สกุลรัตน์ และ อนิรุทธ์ สติมั่น.2557.การพัฒนาชุดการสอนสำหรับครูร่วมกับกิจกรรมแบบเรียนปนเล่นวิชาภาษาอังกฤษ เรื่องคำศัพท์รอบตัวเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2โรงเรียนประถมฐานบินกำแพงแสน.การประชุมวิชาการระดับชาติ โสตฯ – เทคโนฯ สัมพันธ์แห่งประเทศไทย. น.302-312.
[10] ตะวัน ทองสรรค์ และพีระพล ศิริวงศ์.2557.การพัฒนาชุดฝึกทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง วิธีเรียงสับเปลี่ยนและวิธีจัดหมู่ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที 5.วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์. 9(2), น.127-131.
[11] วรวิทย์ ชุ่มเชย. 2547. การสร้างชุดฝึกทักษะการติดตั้งไฟฟ้า เรื่องการเดินสายไฟฟ้าแสงสว่างและไฟฟ้ากำลัง นักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
[12] ไพบูลย์ พวงวงศ์ตระกูล. 2555. การสร้างชุด ทดลองการเขียนโปรแกรมภาษาซีด้วย SDCC บน MCS-51 A Construction of C Programming Laboratory Set with SDCC on MCS-51 .วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 11(3), น.68-73.