รูปแบบการบริหารการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน ของกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนบ้านเซือม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอรูปแบบการบริหารการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนของกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนบ้านเซือมและเพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนของกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนบ้านเซือม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือข้าราชการครูโรงเรียนบ้านเซือม จำนวน 6 คน ที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในระดับปฐมวัย ระดับประถมศึกษาตอนต้น ระดับประถมศึกษาตอนปลาย และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยรูปแบบการบริหารการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนของกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนบ้านเซือมแบบเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 13 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ผลการใช้รูปแบบการบริหารการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนของกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยีโรงเรียนบ้านเซือมข้าราชการครูสามารถใช้การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนในการแก้ปัญหานักเรียนที่มีปัญหาการเรียนรู้และส่งเสริมนักเรียนที่มีปัญญาเลิศ โดยมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนของกลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยีโรงเรียนบ้านเซือม ขั้นที่ 1 การคัดกรองปัญหา อยู่ในระดับ มากที่สุด ( =4.29,
.=0.16) ขั้นที่ 2 การตรวจเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง อยู่ในระดับ มาก (
=4.14,
.=0.12) ขั้นที่ 3 การเลือกนวัตกรรมเพื่อการแก้ปัญหาอยู่ในระดับ มากที่สุด (
=4.24,
.=0.25) ขั้นที่ 4 การวางแผนปฏิบัติการวิจัย อยู่ในระดับ มากที่สุด (
=4.26,
.=0.12) ขั้นที่ 5 การนำแผนปฏิบัติการวิจัยสู่การปฏิบัติ อยู่ในระดับ มาก (
=4.20,
=0.16) ขั้นที่ 6 การรวบรวมและวิเคราะห์ผลการใช้นวัตกรรมเพื่อการแก้ปัญหา อยู่ในระดับ มากที่สุด (
=4.22,
.=0.11 ) ขั้นที่ 7 การสะท้อนผลและการอภิปรายผลการวิจัย อยู่ในระดับ มากที่สุด (
=4.39,
.=0.22) ขั้นที่ 8 การรายงานและเผยแพร่ผลการวิจัย อยู่ในระดับ มากที่สุด (
=4.47,
.=0.16) และความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนของกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนบ้านเซือม โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (
=4.59,
.=0.08)
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] ราชกิจจานุเบกษา. 2546. [ฉบับอิเล็กทรอนิกส์]. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่มาก พ.ศ. 2546. เล่ม 120 ตอนที่ 100 ก. 9 ตุลาคม 2546 ค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554 จาก https://www.kodmhai.com/m8/T1.html
[3] ทศพร ศิริสัมพันธ์. 2549. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารราชการแนวใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาระบบราชการ.
[4] สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2552. คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู.กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
[5] สุวิมล ว่องวาณิช. 2544. การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[6] พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). 2543. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
[7] ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. 2557. การพัฒนาคุณภาพชีวิตครูไทยตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วาสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม,13 (3), น.188-193.