ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย

Main Article Content

สุชาริณี เที่ยงแท้
กุลกัญญา   ณ   ป้อมเพ็ชร์
ศิริจรรยา เครือวิริยะพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เข้ามาท่องเที่ยวประเทศไทย 3) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 4) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยจำแนกตามพฤติกรรมการท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย จากสนามบินสุวรรณภูมิจำนวน 385 คน โดยการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องมือโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้วิธีการวิเคราะห์ T-test และการทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วยสถิติไคสแควร์ (Chi-Square) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05


ผลการศึกษาระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางมาท่องเที่ยว ในประเทศไทยอยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มิอิทธิพลต่อนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่านักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีอายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และอาชีพที่แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อส่วนประสมทางการตลาดบริการที่แตกต่างกันและผลการเปรียบเทียบโดยจำแนกตามพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวจีน พบว่าผู้ร่วมเดินทาง แหล่งท่องเที่ยว ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว แหล่งข้อมูลในการท่องเที่ยว และการซื้อสินค้าที่ระลึกที่แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
เที่ยงแท้ ส.,  ป้อมเพ็ชร์ก. ณ , & เครือวิริยะพันธ์ ศ. (2016). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 15(1), 203–210. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122285
บท
บทความวิจัย

References

[1] กรมการท่องเที่ยว. 2558. สถิตินักท่องเที่ยว. ค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2558 จาก https://www.tourism.go.th/home/listcategory/11/217

[2] ธานินทร์ ศิลป์จารุ. 2548. การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยSPSS. กรุงเทพฯ: วี.อินเตอร์ พริ้น.

[3] จิระเสกข์ ตรีเมธสุนธรและฉกาจ ราชบุรี. 2550. ความรู้และเจตคติของนักท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อการดำเนินการ ด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 6(1), น.96-104.
Trimatesuntorn, J. & Ratchburi, C. 2007. Tourist's Knowledge and Attitude of Tour Operations in Bangkok Toward Ecotourism Operation. Journal of industrial Education, 6(1), p. 96-104.

[4] อัจฉรา สมบัตินันทนา. 2555. พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย. สารนิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์การจัดการมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[5] ประสพชัย พสุนนท์และคณะ. 2553. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 23(2),น. 51-63.

[6] ภัทริน พนมชน. 2555. ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวแบบประหยัดชาวจีนที่มีต่อบริการท่องเที่ยวของประเทศไทย. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[7] นรพรรณ โพธิพฤกษ์และคณะ. 2556. ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ของนักท่องเที่ยวชาวจีน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 7(2)น. 134-142.