บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทบทวน เรื่องสื่อกลางระบบเครือข่ายท้องถิ่น สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี

Main Article Content

กุลกนก อิสระ
ฐิยาพร กันตาธนวัฒน์
ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทบทวน เรื่องสื่อกลางระบบเครือข่ายท้องถิ่นสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี ที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ และ 2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนกับหลังเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทบทวนเรื่องสื่อกลางระบบเครือข่ายท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) จำนวน 1 ห้องเรียน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทบทวน เรื่องสื่อกลางระบบเครือข่ายท้องถิ่น แบบประเมินคุณภาพของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.33- 0.73 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.27 - 0.60 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีชนิดสองกลุ่มไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทบทวน เรื่องสื่อกลางระบบเครือข่ายท้องถิ่น มีคุณภาพด้านเนื้อหาในภาพรวมอยู่ในระดับดี (gif.latex?\overline{x}= 4.19, S = 0.56) และมีคุณภาพด้านเทคนิคการผลิตสื่อในภาพรวมอยู่ในระดับดี (gif.latex?\overline{x}= 4.43, S = 0.46) 2)บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทบทวน เรื่องสื่อกลางระบบเครือข่ายท้องถิ่น สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.33/87.27 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 และ 3)ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทบทวนเรื่องสื่อกลางระบบเครือข่ายท้องถิ่น สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
อิสระ ก., กันตาธนวัฒน์ ฐ., & ตั้งคุณานันต์ ป. (2016). บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทบทวน เรื่องสื่อกลางระบบเครือข่ายท้องถิ่น สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 15(1), 172–178. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122280
บท
บทความวิจัย

References

[1] อรรณพ อุบลแย้ม. 2542. ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

[2] ศิริชัย นามบุรี. 2542. การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสําเร็จรูป วิชาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

[3] กิดานันท์ มลิทอง. 2543. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

[4] พรเทพ เมืองแมน. 2544. หลักการออกแบบและ CAI -Multimedia. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

[5] จินตวีร์ คล้ายสังข์. 2555. แนวคิดสู่การปฎิบัติสำหรับการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงในทุกระดับ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[6] ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ. 2520. ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[7] Bloom, Benjamin S. 1976. Human Characteristics and School Learning. New York: McGraw Hill Book Company.

[8] พรรณี ลีกิจวัฒนะ. 2554. วิธีการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[9] พงศ์กฤช อยู่ประจำ. 2557. การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการทบทวน เรื่องวงจรไฟฟ้ากระแสสลับ สำหรับนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์(คอมพิวเตอร์) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
Yupracham, P. 2014. The Development of Web-Based Instruction for Review on Current Circuits for Certificate Students of Chachoengsao Technical College. Master’s Thesis of Science. In Science Education (Computer) School of Graduate Studies, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang.

[10] ขวัญชนก หอมละเอียด. 2554. บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการทบทวนเรื่องการใช้โปรแกรมกราฟิกสร้างตัวอักษร. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์(คอมพิวเตอร์) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
Homlaied, K. 2011. Web-Based Instruction for Review on Use of Graphic Program to Create Font. Master’s Thesis of Science. In Science Education (Computer) School of Graduate Studies, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang.

[11] อรวรรณ ระย้า. 2550. บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการทบทวน เรื่อง คอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์(คอมพิวเตอร์) บัณฑิตวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
Raya, O. 2007. Web-Based Instruction for Tutorial on Industrial Computer. Master’s Thesis of Science. In Science Education (Computer) School of Graduate Studies, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang.

[12] เอกชัย ศิริเลิศพรรณา. 2556. การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการทบทวน เรื่องการเคลื่อนที่แบบโมชั่นทวีน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์(คอมพิวเตอร์) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
Sirilertpanna, E. 2013. Development of Web-Based Instruction for Review on Moving by Motion Tween. Master’s Thesis of Science. In Science Education (Computer) School of Graduate Studies, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang.

[13] ธนพงศ์ จันทร์สุข. 2557. การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการทบทวน เรื่องตัวแปรและค่าคงที่ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ (คอมพิวเตอร์) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
Chansuk, T. 2014. Development of Web-Based Instruction for Review on Variables and Constants for Diploma Students. Master’s Thesis of Science. In Science Education (Computer) School of Graduate Studies, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang.

[14] นพดล จักรแก้ว. 2555. การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการทบทวน เรื่องภาษาซี วิชาการเขียนโปรแกรม เชิงโครงสร้าง.วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 12(2), น. 32-37.
Chukkaew, N. 2012. Development of Web-Based Instruction for Review on C Language for Structure Programming. Journal of Industrial Education, 12(2), p. 32-37.

[15] วารี มะโนวัน. 2553. การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการทบทวน เรื่องวิธีการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ (คอมพิวเตอร์) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
Manowan, W. 2010. Development of Web-Based Tuturial on Electric Circuit Analysis Methods for Undergraduate Students of Faculty of Industrial Education King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang. Master’s Thesis of Science. In Science Education (Computer) School of Graduate Studies, King Mongkut’s Institute of TechnologyLadkrabang.