การหมักน้ำบีทรูทผสมด้วยแบคทีเรียกรดแลคติกและการรีไซเคิลสตาร์ทเตอร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสูตรน้ำบีทรูทผสมที่เหมาะต่อการหมักด้วย Lactobacillus pentosus ที่ผู้บริโภคยอมรับ ศึกษาการเปลี่ยนแปลงปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด ศึกษาเปอร์เซ็นต์กรดแลคติก ค่าพีเอช และศึกษาจำนวนเซลล์ L. pentosus ระหว่างการหมัก การรีไซเคิลสตาร์ทเตอร์ และการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส และศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของน้ำหมักบีทรูทผสม ผลการศึกษาพบว่าสูตรน้ำบีทรูทผสมที่เหมาะต่อการหมักคือ น้ำบีทรูท 50 % น้ำสับปะรด 25 % และน้ำกลั่น 25 % (โดยปริมาตร) ในระหว่างการหมักครั้งที่ 1 อายุการหมัก 48 ชั่วโมง ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมดลดลงจาก 15.00 เป็น 14.10 องศาบริกซ์ กรดแลคติกเพิ่มจาก 0.214 เป็น 0.612 เปอร์เซ็นต์ ค่าพีเอชลดลงจาก 3.95 เป็น 3.17 และจำนวนเซลล์ L. pentosus เพิ่มจาก 9.40 x 106 เป็น 6.50 x 1010 โคโลนี/มล. การเปลี่ยนแปลงของการรีไซเคิลรอบที่ 6 ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมดคงที่ เปอร์เซ็นต์กรดแลคติกเพิ่มขึ้น ค่าพีเอชลดลง และจำนวนเซลล์ L. pentosus เพิ่มจาก 106 เป็น 1010 โคโลนี/มล. น้ำหมักบีทรูทผสมที่ได้มีคุณค่าทางโภชนาการสูงเหมาะสำหรับใช้เป็นเครื่องดื่มโพรไบโอติก ได้แก่ มีคาร์โบไฮเดรทรวมไฟเบอร์ โปรตีน พลังงาน โปแตสเซียม และมีจุลินทรีย์โพรโบโอติก น้ำหมักบีทรูทที่ได้มีอายุการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 30 วัน
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน. มผช.278/2547. น้ำบีทรูท [Online]. Available : https://app.tisi.go.th/otop/pdf_file/tcps278_47.pdf. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 15 ธันวาคม 2558)
[3] อุทัศน์ พิทักษ์สายชน. 2550. บีทรูทเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ. [Online]. Available : https://www.uniserv.buuc.ac.th/forum2/topic.asp? TOPIC_ID=1700 (วันที่สืบค้นข้อมูล : 10 พฤศจิกายน 2559)
[4] Beets nutrition facts. 2012. [Online]. Available : https://www.nutrition-and-you.com/beets.html. (วันที่สืบค้น : 10 ธันวาคม 2558)
[5] ปิ่นมณี ขวัญเมือง. 2548. ฟังชันนัลฟูดส์ : อาหารเพื่อสุขภาพ.วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 4 (2) : 43-50. Pinmanee Kwanmuang,. 2548. Functional Foods : Foods for Healt. Journal of Industrial Education, 4 (2) : 43-50.
[6] ปิ่นมณี ขวัญเมือง. 2550. คีเฟอร์ : อาหารสุขภาพจากผลิตภัณฑ์นมหมัก. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 6 (1) : 152-160.
Pinmanee Kwanmuang. 2550. Kefir Functional Foods from Fermented Dairy Products. Journal of Industrial Education, 6 (1) : 152-160.
[7] มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน. มผช.481/2547. น้ำหมักพืช [Online]. Available : https://app.tisi.go.th/otop/pdf_file/tcps841_47.pdf. . (วันที่สืบค้น : 10 ธันวาคม 2558)
[8] ดารัตน์ พึ่งบุญ และปริศนา เป๊าะซิเป๊าะ. 2556. การหมักน้ำแก่นตะวันด้วยเชื้อผสมของแบคทีเรียกรดแลคติกและยีสต์. ปัญหาพิเศษปริญญาตรีภาควิชาครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
[9] ลักษณะการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย(Growth Curve of bacteria) แบ่งเป็น 4ระยะ. [Online]. Available : https://www.thaieditorial.com./ลักษณะการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย .(วันที่สืบค้น : 10 ธันวาคม 2558)
[10] จารุวรรณ มีศิริ. 2551. จุลินทรีย์กับการหมัก. เทคโนโลยีอาหารหมัก. ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร และโภชนาการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. น. 65-80.
[11] Yoon, Y.K. E. E. Woodams and Y. D. Hang.