การพัฒนาชุดฝึกปฏิบัติการต่อวงจรระบบสัญญาณไฟฟ้ารถยนต์ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตร สาขางานยานยนต์

Main Article Content

เฉลิมศักดิ์ ด้วงงาม
ผดุงชัย ภู่พัฒน์
ธนินทร์ รัตนโอฬาร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดฝึกปฏิบัติการต่อวงจรระบบสัญญาณไฟฟ้ารถยนต์ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตร สาขางานยานยนต์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างนักเรียนที่ใช้ชุดฝึกปฏิบัติการต่อวงจรระบบสัญญาณไฟฟ้ารถยนต์ กับนักเรียนที่เรียนแบบปกติ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย เป็นนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 56 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เวลาที่ใช้ในการทดลอง 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดฝึกปฏิบัติการต่อวงจรระบบสัญญาณไฟฟ้ารถยนต์ 2) แบบประเมินคุณภาพของชุดฝึกปฏิบัติการต่อวงจรระบบสัญญาณไฟฟ้ารถยนต์ ซึ่งมี 2 ด้าน คือ (1) การประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา (2) การประเมินคุณภาพด้านเทคนิคการผลิตสื่อ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างเนื้อหากับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมเท่ากับ 0.80–1.00 ค่าความยากง่ายเท่ากับ 0.50-0.78 ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.22-0.67 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.72 แบบทดสอบทักษะวงจรระบบสัญญาณไฟฟ้ารถยนต์ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างเนื้อหากับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมเท่ากับ 0.80–1.00 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.90 สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test dependent samples
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ชุดฝึกปฏิบัติการต่อวงจรระบบสัญญาณไฟฟ้ารถยนต์ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 72.22 : 80.46 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
          2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกปฏิบัติการต่อวงจรระบบสัญญาณไฟฟ้ารถยนต์สูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติมีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
ด้วงงาม เ., ภู่พัฒน์ ผ., & รัตนโอฬาร ธ. (2016). การพัฒนาชุดฝึกปฏิบัติการต่อวงจรระบบสัญญาณไฟฟ้ารถยนต์ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตร สาขางานยานยนต์. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 15(1), 44–50. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122260
บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติกระทรวงศึกษาธิการ. 2542.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ครุสภาลาดพร้าว

[2] สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน). 2557. กรุงเทพฯ

[3] สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 2543. การออกแบบและสร้างต้นแบบชุดทดลองและชุดสาธิต. กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนาเทคนิคศึกษา.

[4] Wilson , James W. 1971. “ Evaluation of Learning in Secondary School Mathematics” in Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning . Benjamin S. Bloom editor. New York: McGraw – Hill Book Company.

[5] ชัยยงค์ พรหมวงศ์. 2521. นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษาการสอน. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

[6] พรรณี ลีกิจวัฒนะ. 2553. วิธีการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[7] Bloom,Benjamin S . (1964). Taxonomy of Educational Objectives:The Classification of Educational Goals. Handbook ll Affective Domain. London:Longman.

[8] ขอบคุณ ไชวงศ์. 2552. การพัฒนาชุดทดลองวิชาวงจรดิจิตอลเบื้องต้นโดยการใช้ CPLD สำหรับหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นสูงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

[9] ไพบูลย์ พวงวงศ์ตระกูล. 2555. การสร้างชุดทดลองการเขียนโปรแกรมภาษาซีด้วย SDCC บน MCS-51. วารสารครุศาสตร์ อุตสาหกรรม, 11(3), น. 68-73.
Paiboon, P. 2012. A Construction of C Programming Laboratory Set with SDCC on MCS-51. Journal of Industrial Education, 11(3), p. 68-73.

[10] ทิศนา แขมมณี. 2554. ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[11] ปรียา เฉิดโฉม. 2550. รายงานการพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียนและหลักการใช้ภาษากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ. กระบี่ : โรงเรียนบ้านนาปง.