การทดลองออกแบบอาคารสาธารณะในพื้นที่มรดกโลก: นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

สมพล ดำรงเสถียร
สันติ เล็กสุขุม

บทคัดย่อ

การทดลองออกแบบอาคารสาธารณะในพื้นที่มรดกโลก: นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและจัดทำรายละเอียดโครงการ ออกแบบอาคาร และสร้างองค์ความรู้ด้านการหารูปแบบสถาปัตยกรรมในพื้นที่นครประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา  ดำเนินการวิจัยโดยศึกษาจากต้นแบบความคิดและผลสำเร็จห้าแห่ง บริบทพื้นที่ กลุ่มเป้าหมาย และเงื่อนไขทำเลที่ตั้ง โดยได้อาคารศูนย์บริการวิชาการวัดพระศรีสรรเพชญ์จำนวนหกแบบรอบบ่อน้ำหกเหลี่ยม  แบ่งอาคารเป็นสามโซน รูปแบบอาคารแตกต่างจากโบราณสถาน ออกแบบโดยคำนึงถึงฐานานุศักดิ์ ประกอบด้วย แกนอาคารที่ไม่สัมพันธ์กับเกณฑ์สมมาตรของโบราณสถาน  อาคารใช้เส้นนอนและมีรูปทรงอิสระ และความสูงอาคารไม่เกินบัลลังก์เจดีย์ประธาน ผลที่ได้รับคืออาคารใหม่ช่วยเติมเต็มให้กับโบราณสถาน เป็นเสมือนจุดเชื่อมวัฒนธรรมสองช่วงเวลา และสร้างคุณค่าร่วมให้กับโบราณสถานและบริบทโดยรอบ  ผลของงานวิจัยสอดคล้องกับสมมุติฐานที่สามารถเปิดแนวคิดและแนวทางใหม่ของรูปแบบสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับพื้นที่มรดกโลก: นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา


องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยนี้คือ อาคารใหม่อยู่กับอาคารเก่าได้ในรูปแบบการทำให้ภาพรวมของพื้นที่มีองค์ประกอบสัมพันธ์กัน ส่งเสริมซึ่งกันและกัน เกิดความสมดุลของผัง การแสดงออกที่สอดคล้องและให้ความเคารพต่อกัน ด้วยวิธีผสมผสานความรู้ด้านประวัติศาสตร์ จิตวิทยาการรับรู้ และเทคโนโลยี  โดยใช้แนวคิดการจำกัดข้อมูล สร้างความคุ้นเคย และวางคำสั่ง  ผลที่ได้ คือ ผู้ชมสามารถแยกความแตกต่างระหว่างอาคารเก่ากับอาคารใหม่  เกิดความเคารพ และจดจำโบราณสถานได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กรมศิลปากร. 2533. แผนแม่บทโครงการอนุรักษ์และพัฒนานครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ:สมาพันธ์.

[2] กรมศิลปากร และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2546. โครงการอนุรักษ์และพัฒนานครประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา . กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

[3] กรมศิลปากร และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2553. แผนแม่บทระยะที่ 2 โครงการอนุรักษ์และพัฒนานคร ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

[4] พิชัย สดภิบาล อัมรา รัตตากร และสธญ ภู่คง. 2558. กลยุทธ์การจัดการอย่างยั่งยืนสำหรับการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมของ ตลาดพื้นถิ่นที่มีอายุมากกว่า 100 ปี. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(1), น.17-24.

[5] พัฑร์ แตงพันธ์. 2556. วัดพระศรีสรรเพชญ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ayutthayastudies.aru.ac.th/content/view/202/116/. (วันที่ค้นข้อมูล 18 กันยายน 2552).

[6] สถาบันอยุธยาศึกษา. 2556. วัดมหาธาตุ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ayutthayastudies. aru.ac.th/content/view/360/116/. (วันที่ค้นข้อมูล 18 กันยายน 2552).

[7] สถาบันอยุธยาศึกษา. 2556. วัดมเหยงคณ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ayutthayastudies. aru.ac.th/content/view/782/0/. (วันที่ค้นข้อมูล 18 กันยายน 2552).

[8] Grand Lourve. 2014. [online]. Retrieved from https://www.pcf-p.com/a/p/8315/s.html. (January 5, 2014).

[9] Huw Evans. (n.d.). Renzo Piano: Logbook (พร วิรุฬรักษ์, แปล).วารสารอาษา, (12:47-01:48), น.126-133.

[10] Lourve. 2013. [online]. Retrieved from https://www.louvre.fr/en. (December 10, 2013).

[11] Centre Georges Pompidou. 2013. [online]. Retrieved from https://www.centerpompidou. fr/en/The-Center-Pompidou. (December 10, 2013).

[12] Centre Georges Pompidou. 2013. [online]. Retrieved from https://www.rpbw.com/project/3/centre-georges- pompidou/. (December 10, 2013).

[13] Carré d'art. 2014. [online]. Retrieved from https://www.fosterandpartners.com/projects/carr%C3% A9-dart/. (January 5, 2014).

[14] จักรสิน น้อยไร่ภูมิ. 2556. Museum of European and Mediterranean Civilisations (MuCEM). วารสารอาษา, 4(16), น. 26.

[15] Museum-three-sites/fort-Monument saint-jean. Fosterandpartners. 2013. [online]. Projects Carre-dart. Retrieved from https://www. fosterandpartners.com/projects/carre-dart. (December 10, 2013).

[16] J 4 The Heart of MuCEM. 2013. [online]. Retrieved from https://www.mucem.org/en/mucem/one-museum-three- sites/j4. (December 10, 2013).

[17] Museum of European and Mediterranean civilisations. 2013. [online]. Retrieved from https://www.rudyricciotti.com/musees/musee-des-civilisations-deurope-et-de- mediterranee#!06Lisa_Ricciotti2502. (December 10, 2013).

[18] One Museum, Three Sites. 2013. [online]. Retrieved from https://www.mucem.org/en/ mucem/one-museum- three-sites. (December 10, 2013).

[19] The Center for Conservation and Resources (CCR): Behind the scenes of the museum. 2013. [online]. Retrieved from https://www.mucem.org/en/mucem/one-museum-three-sites/centre- conservation- and-resources-ccr. (December 10, 2013).

[20] Glasgow Riverside Museum of Transport. 2013. [online]. Retrieved from https://www.zaha- hadid.com/architecture/glasgow-riverside- museum-of-transport/. (December 10, 2013).

[21] Architectural-Projection-Mapping. 2014. [online]. Retrieved from https://www.ayarafun.com/2010/09/ architectural-projection-mapping-the-future- of- graphics/ (September 20, 2013).

[22] Hologram. 2013. [online]. Retrieved from https://hologram-rental.com/blog/ (September 20, 2013).

[23] Smart Billboard. 2013. [online]. Retrieved from https://www.mbandf.com/parallel- world/smart-billboard-reveals-hidden-message-for- children. (September 20, 2013).

[24] ธวัชชัย องค์วุฒิเวทย์ และวิไลรัตน์ ยังรอด (เรียบเรียง). 2550. ท่องเที่ยว เรียนรู้อยุธยา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพ: มิวเซียมเพรส.

[25] เลิศพร ภาระสกุล. 2555. พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.