การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มเขตตะวันออก

Main Article Content

สุภาภรณ์ เกษคำ
กาญจนา บุญภักดิ์
ณรงค์ พิมสาร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษาความคิดเห็นของครูที่มีต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มเขตตะวันออก และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มเขตตะวันออก จำแนกตามเพศ อายุ ตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ข้าราชการครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มเขตตะวันออกจำนวน 351 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และทดสอบความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) การเตรียมความพร้อมของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มเขตตะวันออก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านการบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือด้านคุณภาพผู้เรียน  ด้านการพัฒนาครูผู้สอน และด้านผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้มีส่วนร่วมในการส่งเสริม สนับสนุน ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มเขตตะวันออก พบว่าผู้บริหารที่มี เพศ อายุ ตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน ต่างกัน มีการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
เกษคำ ส., บุญภักดิ์ ก., & พิมสาร ณ. (2015). การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มเขตตะวันออก. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(3), 31–38. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122187
บท
บทความวิจัย

References

[1] กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ. 2554. การศึกษา : การสร้างประชาคมอาเซียน 2558. ค้นเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2555, จาก https://www.bic.moe.go.th/th/images/stories/book/other/ASEAN/ed-building-ASEANcommunity.pdf

[2] สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.2554. แนวทางการบริหาร จัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

[3] สรศักดิ์ บัวแย้ม. 2556. การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียน มัธยมศึกษาสหวิทยา เขตระยอง 2 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
Bauyam, S. 2013. To prepare for the ASEAN community of Interdisciplinary Area Rayong 2 School under The Secondary Educational Service area Office 18. The Degree of Master of Education in Educational Administration Burapa university.

[4] เมืองปาย รู้สรรพกิจ. 2555. ความพร้อมและแนวทางการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 6.ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
Roosuppakij, M. 2013. Readiness and Guidelines of Learning Management to ASEAN Community of Ratwinitbangkaeo School under The Secondary Educational Service area Office 6. The Degree of Master of Education in Educational Administration Burapa university.

[5] เฉลียว เถื่อนเภา. 2554. การดำเนินงานเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนเครือข่ายศูนย์ อาเซียนศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
Theanpao, Ch. 2011. The preparation of the ASEAN Community, ASEAN Studies Center School under The Primary Educational Service Ratchaburi Area 1. The Master of Education degree in Educational Administration At Muban Chom Bueng Rajabhat University.

[6] สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2554.การพัฒนามาตรฐานและยุทธศาสตร์ในการพัฒนา โรงเรียนสู่ประชาคม อาเซียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

[7] นักรบ ระวังการณ์ และนฤนันท์ สุริยมณี.บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาและการพัฒนาสมรรถนะเพื่อเตรียมความพร้อมในการ ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

[8] ธีระ รุญเจริญ. 2550. ความเป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา.กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.

[9] ชัยยนต์ เสรีเรืองยุทธ์. 2556. การบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ : โรงเรียนประชานิเวศน์.

[10] ราตรี สีงาม. 2555. การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ศรีสะเกษ. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตรเพื่อการพัฒนาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
Sringam, R. 2012. The preparation of secondary schools under the ASEAN community. Sisaket Provincial Administration Organisation. The Master of Arts Degree in Social Sciences for Development Graduate School, Ubon Ratchathani Rajabhat University

[11] กัญณภัทร หุ่นสุวรรณ. 2557. การศึกษาและพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาเพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคม อาเซียน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13(3), น. 99-105.
Hunsuwan, K. 2014. A Study of the Development of Elementary Student Characteristics for Entry to the Asean Community. Journal of Industrial Education, 13(3), p. 99-105.

[12] Vance and Anna. Health Sciences, Nursing (0569) : Psychology, Social (0451) : Education, Administration (0514). Administrator: Andrews University July, 2006.

[13] Newton,E.H. 1987. Critical Issues in the Professional Preparation and Development of educational Administrators in Developing Areas, Resources in Education. 22(4) : 54.

[14] วิชาการ, กรม. 2551. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ.