กลยุทธ์การตลาด สภาพการแข่งขันของตลาด ปัญหา และแนวทางการปรับตัวของผลิตภัณฑ์สมุนไพรเครื่องสำอาง ในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เขตพื้นที่ภาคกลาง

Main Article Content

อัญชลี ภู่ทอง
อุรสา บัวตะมะ
กุลกัญญา ณ ป้อมเพ็ชร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การตลาด และสภาพการแข่งขันของตลาดของผลิตภัณฑ์สมุนไพรเครื่องสำอาง 2) เพื่อศึกษาปัญหา และแนวทางการปรับตัวในการดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์สมุนไพรเครื่องสำอาง  3) เพื่อเปรียบเทียบลักษณะการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกัน กับการจัดทำกลยุทธ์การตลาด สภาพการแข่งขันของตลาด ปัญหา และแนวทางการปรับตัวของผลิตภัณฑ์สมุนไพรเครื่องสำอางที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์พื้นที่เขตภาคกลาง จำนวน 150 กลุ่ม เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ซึ่งผลการศึกษาพบว่า


  1. กลยุทธ์การตลาดของผู้ประกอบการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}=3.97, S.D.=0.78) และสภาพการแข่งขันของตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}=3.74, S.D.= 0.76)

  2. ปัญหาของผู้ประกอบการในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x} =3.25, S.D.=0.90) และแนวทางการปรับตัวของผู้ประกอบการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=3.70, S.D.=0.75)

  3. ลักษณะการดำเนินธุรกิจที่ใช้ทดสอบคือ อาชีพก่อนการทำธุรกิจ และระยะเวลาตั้งแต่เริ่มดำเนินการ โดยอาชีพก่อนทำธุรกิจของผู้ประกอบการที่แตกต่างกัน ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องของกลยุทธ์การตลาด สภาพการแข่งขันของตลาด ปัญหา และแนวทางการปรับตัว ในการดำเนินธุรกิจสมุนไพรเครื่องสำอาง และระยะเวลาตั้งแต่เริ่มดำเนินการของผู้ประกอบการที่แตกต่างกัน มีการจัดทำกลยุทธ์การตลาดในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบรรจุภัณฑ์ และปัญหาในด้านเทคโนโลยี ในการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
ภู่ทอง อ., บัวตะมะ อ., & ณ ป้อมเพ็ชร์ ก. (2015). กลยุทธ์การตลาด สภาพการแข่งขันของตลาด ปัญหา และแนวทางการปรับตัวของผลิตภัณฑ์สมุนไพรเครื่องสำอาง ในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เขตพื้นที่ภาคกลาง. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(3), 16–23. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122181
บท
บทความวิจัย

References

[1] กรมการพัฒนาชุมชน. 2556. ฟื้นฟูโอทอปต่อยอดสู่สากล OTOP Revitalization. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.

[2] ธันยมัย เจียรกุล. 2557. ปัญหาและแนวทางการปรับตัวของ OTOP เพื่อพร้อมรับการเปิด AEC. วารสารนักบริหาร, 34(1), น. 177-191.

[3] ฉัตรชัย อินทสังข์. 2554. เอกสารการสอนหลักการตลาด. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

[4] อดุลย์ จาตุรงคกุลและคณะ. 2542. การบริหาร การตลาดกลยุทธ์ และยุทธวิธี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

[5] Yamane, Taro. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. Newyork: Harperand Row Publication.

[6] สุชาติ จรประดิษฐ์ อดิลล่า พงศ์ยี่หล้าและเสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. 2557. อิทธิพลของการใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ปัจจัยขับ เคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และคุณลักษณะของผู้ ประกอบการที่มีต่อความสำเร็จทางการตลาดของสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ระดับ 5 ดาว ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญา บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

[7] จิตต์ใส แก้วบุญเรือง. 2546. การดำเนินโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จในจังหวัดลำปาง. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

[8] ยุทธศักดิ์ สุภสร. 2558. โอกาสและผลกระทบของOTOP กับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC). ค้นเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2558, จากhttps://www.sme.go.th/Lists/EditorInput/DispF.aspx?List=15dca7fb-bf2e-464e-97e5- 440321040570&ID=1760

[9] จินตะนา วงศ์วิภูษณะและคณะ. 2550. แนวทางการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ชุมชน (OTOP) ด้วยระบบ อิเล็กทรอนิกส์ กรณี ศึกษาผลิตภัณฑ์จากเกล็ดปลา กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเขารูปช้าง (บ้านบางดาน) ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาการจัดการ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

[10] ณัฐธยาน์ อิสระนุกูลธรรม. 2549. การประเมินสถานการณ์ปัจจัยภายนอกของกลุ่มผู้ผลิตวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใน โครงการสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ระดับ 3 – 5 ดาว. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาวิชาธุรกิจ อุตสาหกรรม บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

[11] สุจิตรา จองโพธิ์. 2550. การดำเนินงานเชิงธุรกิจของกลุ่มผู้ผลิตสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ใน จ.อุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

[12] อุดมรัศม์ หลายชูไทย. 2545. การจัดตารางการผลิตสำหรับโรงพิมพ์บรรจุภัณฑ์. ค้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2558, จากhttps://www.researchgate.net/publication/ 27802161

[13] วลีรักษ์ สิทธิสม. 2554. การศึกษาสภาพการบริหารจัดการสินค้า OTOP ในจังหวัดนนทบุรี. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 10(2), น. 117-125.

[14] วรรณา ศรีสารากร. 2544. การจัดการองค์ความรู้เรื่องน้ำตาลมะพร้าวของกลุ่มเกษตรกร จ.สมุทรสงคราม. สมุทรสงคราม: สำนักงานเกษตรจังหวัด.

[15] ทัศนีพร ประภัสสรและคณะ. 2550. ความรู้เพื่อพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์และการวิเคราะห์ศักยภาพของธุรกิจชุมชน. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

[16] นราวุฒิ สังข์รักษา. 2553. ปัจจัยที่ส่งผลต่อกลยุทธ์การปรับตัวทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ชุมชน และท้องถิ่นในจังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาประกอบการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.