การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรมฟลิปอัลบั้ม วิสต้า โปร 7.0 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

จิตราภรณ์ บัวชิต
ทนงศักดิ์ โสวจัสสตากุล
พรรณี ลีกิจวัฒนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา หาคุณภาพ และประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้าง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรมฟลิปอัลบั้ม วิสต้า โปร 7.0 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใย อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 30 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม ได้นักเรียน 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรมฟลิปอัลบั้ม วิสต้า โปร 7.0 โดยใช้โปรแกรม Authorware ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น แบบประเมินคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.50–0.80 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 – 0.67 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบสองกลุ่มไม่เป็นอิสระต่อกัน


ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ( gif.latex?\bar{x}= 4.54) โดยมีคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดี ( gif.latex?\bar{x}= 4.40) และด้านเทคนิคการผลิตสื่ออยู่ในระดับดีมาก ( gif.latex?\bar{x}= 4.63) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 81.00/82.11 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
บัวชิต จ., โสวจัสสตากุล ท., & ลีกิจวัฒนะ พ. (2015). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรมฟลิปอัลบั้ม วิสต้า โปร 7.0 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(2), 88–94. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122169
บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542.กรุงเทพฯ : พริก หวานกราฟฟิค.

[2] มนต์ชัย เทียนทอง. 2545. การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผลิตตำราเรียน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

[3] สุรเชษฐ์ เวชชพิทักษ์ และคณะ. 2546. การพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและเว็บไซต์เพื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

[4] อรทัย มูลคำ และคณะ. 2542. CHILD CENTRED:STORYLINE METHOD เล่ม 1.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

[5] อรพันธุ์ ประสิทธิรัตน์. 2530.คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: คราฟแมน เพลส .

[6] กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. 2536. เทคโนโลยีเทคนิคศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

[7] ถนอมพร เลาหจรัสแสง. 2541. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วงกมลโพรดักชัน.

[8] อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี. 2551. การออกแบบระบบการเรียนการสอน เอกสารการอบรมหลักสูตรผู้เชี่ยวชาญอีเลิร์นนิง วิชาความรู้ พื้นฐานอีเลิร์นนิง. กรุงเทพฯ: โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย.

[9] ชัยยงค์ พรหมวงค์. 2520. ระบบสื่อการสอน.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์.

[10] ภพ เลาหไพบูลย์. 2537. แนวการสอนวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช

[11] นภมน สากุล. 2553 บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง กรรมวิธีการผลิตโลหะเหล็ก. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 9(2), น.174-179.

[12] ศักดา เชื้อสิงห์. 2553. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเสริมความรู้ เรื่อง พลังงานชีวมวล วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหา บัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[13] สัญญา สีหะวงษ์.2552. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1. [ออนไลน์]. เข้าถึง ได้จาก: https://xn--42c2b7ac4iwc.com/index.php/ topic,414. msg473.html#msg473 (วันที่ค้นข้อมูล: 19 สิงหาคม 2554).

[14] กฤตพน ชูศรี. 2554. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อการทบทวน เรื่อง การแปลภาพดาวเทียมด้วย คอมพิวเตอร์. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม,10(1), น.158-165.

[15] จริยาพร ต๊ะโพธิ์. 2545 . การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องชนิดของคำสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาไทยบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.