การพัฒนาชุดฝึกความคิดสร้างสรรค์วิชาศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ศิรินภรณ์ ศรีวิไล
กฤษณา คิดดี
ผดุงชัย ภู่พัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดฝึกความคิดสร้างสรรค์วิชาศิลปะระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพ  และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดฝึกความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดบึงทองหลาง  จังหวัดกรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2556  จำนวน 2 ห้องเรียน ทั้งหมด 80 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดฝึกความคิดสร้างสรรค์ จำนวน 10 ชุด และ 2) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์วิชาศิลปะ  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2)  และใช้สถิติ t-test for dependent samples


ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดฝึกความคิดสร้างสรรค์วิชาศิลปะ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 89.27/ 85.95 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 และ 2) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดฝึกความคิดสร้างสรรค์วิชาศิลปะ พบว่านักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
ศรีวิไล ศ., คิดดี ก., & ภู่พัฒน์ ผ. (2015). การพัฒนาชุดฝึกความคิดสร้างสรรค์วิชาศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(2), 67–72. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122165
บท
บทความวิจัย

References

[1] นวลักษณ์ กลางบุรัมย์. 2556. เทคนิคการสร้างความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน. กรุงเทพฯ : นวลักษณ์

[2] กระทรวงศึกษาธิการ. 2551. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.

[3] ทวีเดช จิ๋วบาง. 2549. ความคิดสร้างสรรค์ศิลปะ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

[4] พัชรินทร์ สุวรรณบุตร. 2554. การพัฒนาชุดฝึกวิชาออปแอมป์และลิเนียร์ไอซีตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2546. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 10(3), น.29.

[5] ทองเลิศ บุญเชิด. 2541. ผลของการใช้ชุดกิจกรรมที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้าน ซับสนุ่น จังหวัดสระบุรี.” การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

[6] Guildford, J.P. 1969. Traits of Creativity in Creativity and Its Cultivation. New York : Harper & Row.

[7] Torrance, E.P. 1970. Encoring Creativity in the Classroom. lowa : Wm. C. Brown.

[8] นภนาฏ รัชดานุรักษ์. 2555. จิตแห่งการสร้างสรรค์. นนทบุรี : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

[9] เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. 2547.การคิดเชิงสร้างสรรค์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.

[10] ปรียา เฉิดโฉม. 2550. รายงานการพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน และหลักการใช้ภาษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ. กระบี่ : โรงเรียนบ้านนาปง.