ความสุขในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 ที่เข้าโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

Main Article Content

กิ่งแก้ว ศิริหล้า
ผดุงชัย ภู่พัฒน์
เลิศลักษณ์ กลิ่นหอม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสุขในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ที่เข้าโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ จำแนกตามเพศและขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ที่เข้าร่วมโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ จำนวน 354 คนจากประชากร 4,436 คน เลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือในการใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามความสุขในการเรียนเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60-1.00 และค่าความเชื่อถือได้ในภาพรวมเท่ากับ 0.86 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) เพื่อทำการทดสอบกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกันและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA)


ผลการวิจัยพบว่า


  1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ที่เข้าโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ มีความสุขในการเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

  2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ที่เข้าโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เพศชายและเพศหญิง มีความสุขในการเรียนในภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ที่เข้าร่วมโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ที่เรียนในโรงเรียนขนาดโรงเรียนขนาดต่างกัน พบว่า ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความรู้สึกผ่อนคลายแตกต่างกันกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
ศิริหล้า ก., ภู่พัฒน์ ผ., & กลิ่นหอม เ. (2017). ความสุขในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 ที่เข้าโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 16(2), 137–145. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/120433
บท
บทความวิจัย

References

[1] The Office of the National Education Commission. 2543. The Learning Reforms of Learners are The Most Important. Bangkok ; The Office of the National Education Commission.

[2] Funfuenfu V, Sriharun B, and Gerdtham C. 2014. Factor Analysis for Life Skills Development of Lower Secondary School Students. Journal of Industrial Education. 13(3), p. 83-90.

[3] Bangkok Business online. 2015. Education of CU 'research reveals children in Thailand were not happy to learn. Retrieved September 16, 2015, from https://www.bangkokbiznews.com

[4] Ministry of Education. 2015. Guide to Time Management “Teach less Learn More”Retrieved December 10, 2015, from https://www.kroobannok.com/76716

[5] Ruengtip Parinya. 2008. A Development of Indicators in Enhancing Pleasure Learning of Grade Level 4 Students Under the Udon Thani Primary Educational Service Area Office 4. Master of Education Degree in Educational Research at Mahasarakham University.

[6] Somjaiwong Kemchart. 2012. Potential and business opportunities of Khon Kaen Province. [Electronic version]. MBA-KKU Journal, 5(2), p. 5-8. Retrieved March 24, 2016, from https://www.tci-thaijo.org/index.php/mbakkujournal/article/view/64558/52955

[7] Snguanphak Chatcavit. 2014. The Development Of The Program Which Enhances Happiness In learning Based on Contemplative Education For Sophomore Students Of Kasetsart University, Bangkhen Campu. Master of Education Degree in Research and Development of Human Potentials at Srinakharinwirot University.

[8] Lekitwattana Punnee. 2012. Research methods in education. Bangkok: King Mongkut's Institute of Technology Latkrabang.

[9] Chollawit Karnruethai. An analysis Of Learning styles, Happiness In Learning, And Learning To Learn Skill Of Lower Secondary School Students. Master Degree of Education Program in Educational Research Methodology Department of Educational Research and PsychologyFaculty of Education Chulalongkorn University.

[10] Sonpaveerawong J, et al. 2016. Happiness of Walailak University Students. [Electronic version]. Songklanagarind Medical Journal, 34(5), p. 269-279. Retrieved December 17, 2016, fromhttps://medinfo.psu.ac.th/smj2/34_5_2016/8_jiraporn%20(59015)neng.pdf

[11] Kajchamaporn W, et al. 2008. Happiness Status and Related Factors: A Characterization of Grade 10-12 Students at Khonkaenwittayayon School, Khon Kaen, Thailand, 2006. [Electronic version]. Songklanagarind Medical Journal, 22(3), p. 60-254. Retrieved January 7, 2016, from https://www.smj.ejnal.com/e- journal/showdetail/?show_preview=T&art_id=1261

[12] Kulprasit Dumri. 1989. Learning Styles Of Medical Technology Students of The Faculty of Associated Medical Scieces, Khon Kaen University. Master of Education Degree at Srinakharinwirot University.

[13] Siriphakhamongkhon Samran. 2554. A Development of Learning Happiness Scales for HighSchool Students. Doctor Degree of Philosophy Program in Educational Measurement and Evaluation Department of Educational Research and Psychology Faculty of EducationChulalongkorn University.