แนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการเขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ สร้างแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการเขต 2 การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ถอดบทเรียนแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดย ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้สอน ประธานนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียนที่ผ่านการประเมินโรงเรียนรางวัลพระราชทาน โรงเรียนที่ผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม และ โรงเรียนที่ได้รับการประเมินประกันคุณภาพภายใน อยู่ในระดับดีมาก จำนวน 25 คน เลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 สร้างแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการ เขต 2 โดยผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้สอน ประธานนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษา ของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการ เขต 2 จำนวน 40 คน เลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยการใช้การสนทนากลุ่ม (Focus Group) 2 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 ซึ่งประกอบด้วย 1. ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ประกอบด้วยสถานศึกษามีการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างรอบด้าน มีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสุขภาพแข็งแรง จิตใจแจ่มใส และมีสุนทรียภาพด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็นและจัดกิจกรรมที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2. ด้านคุณลักษณะจรรยาบรรณวิชาชีพครูและประสิทธิภาพของครู ประกอบด้วยคุณครูหรือครูผู้สอนจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญและปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผล 3. ด้านคุณลักษณะของผู้บริหาร ประกอบด้วย ผู้บริหารมีการจัดการบริหารจัดการบุคลากร มีการจัดการบริหารงานงบประมาณ และมีการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ย่างมีประสิทธิภาพ 4. ด้านประสิทธิภาพของการพัฒนาสถานศึกษา ประกอบด้วยสถานศึกษามีการจัดการศึกษาอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ บังเกิดประสิทธิผลตามวิสัยทัศน์และพันธกิจที่กำหนด ดำเนินการประกันคุณภาพภายในอย่างเป็นระบบและเป็นไปตามกฎกระทรวงว่าด้วย ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา ดำเนินงานโดยใช้หลักการบริหารเชิงกลยุทธ์จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี 5. ด้านการบริหารอาคารสถานที่ ประกอบด้วยสถานศึกษาจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพ บำรุงรักษาอาคารสถานที่ให้คงสภาพดีและสนองต่อความต้องการได้เพียงพอ 6. ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ประกอบด้วยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนต่อการจัดการศึกษา
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] Bureau of Standards and Quality Assurance (Public Organization) (2010) Quality Assurance for Education, Bangkok, Office of the Secretary of the Council for Education.
[3] Panya Lekkha. (1998),The Development of Personnel Affecting Teacher Behavior Adjustment According to the Teachers Professional Standards in Educational Opportunity Expansion Schools. Office of the National Primary Education Commission 4. Education thesis (Education Administration) Nonthaburi: Graduate School Sukhothai Thammathirat Open University
[4] Somsak Dalalprasit (2005). Teachers of teachers and professional teachers. Journal of Teacher Education 21 (2): 12.
[5] Jittima Wongsri (2009). Quality of education and performance of teachers. Journal of Education Khonkaen University. Vol. 32. Issue 1. Page 1
[6] Office of the Commission for Teacher Education and Educational Personnel (2009) Criteria and methods for teaching civil servants and educational personnel.bangkok
[7] Yukl, G.A. (2001). Leadership in the organization (2nd ed.). New Jersey: Prentice-Hall.
[8] Pichaya Pa Khantong (2011) Management of schools that meet the standard. Office of Chumphon Educational Service Area 2, Chumphon Province. Master Thesis Suan Dusit Rajabhat University
[9] Aumrung Chandravijit and his team (2008). The school is perfect. (Accessed on January 22, 2018). (https://www.moe.go.th/moe/th/cms_group/detail.php?NewsID=140&Key=aca_article)
[10] Office of the National Education Commission. (2001). Standard of Education for External Quality Assessment: Basic Education Level. Bangkok: Bureau of Standards and Quality Assessment. (Public Organization)
[11] Satid Chawadee (2008). Participation in school administration of basic education committee according to the opinion of school administrators under the jurisdiction of Bangkok Metropolis. Thesis Master of Education, Phranakhon Rajabhat University
[12] Pakkapon Conservation Secretary 2558. Development of educational quality management indicators for international standard schools. Journal of Industrial Education, 14 (3). 104
[13] Ministry of Education. 2002, National Education Act, BE 2542 (1999) and Amended (No. 2), 2002.
Bangkok: The Organization for Delivery and Delivery