การบริหารจัดการที่ดีและเส้นทางสู่การเรียนรู้เพื่อยกระดับความสามารถในอาชีพและการมีชีวิตที่ดีของวิสาหกิจชุมชน จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานภาพในการบริหารจัดการที่ดี การผลิต จำหน่าย และความสามารถในอาชีพของวิสาหกิจชุมชน ศึกษาข้อมูลจากผู้นำวิสาหกิจชุมชน แห่งละ 1 คน จากวิสาหกิจชุมชน จังหวัดสมุทรสาครที่จดทะเบียน กับกองวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 131 แห่ง เลือกกลุ่มเป้าหมายโดยวิธีการเจาะจง 2) พฤติกรรมสุขภาพเพื่อสะท้อนการมีชีวิตที่ดีของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน จำนวน 296 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งเป็นชั้นและพวก และ 3) พฤติกรรมผู้บริโภคที่เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศที่ซื้อสินค้าวิสาหกิจชุมชนที่ จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 368 คน เพื่อสะท้อนมุมมองต่อการผลิตและการจำหน่ายของวิสาหกิจชุมชนได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ 4) แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อยกระดับความสามารถในอาชีพของวิสาหกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยนำผลการศึกษาสะท้อนสู่เวทีสาธารณะแก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน เพื่อวิพากษ์ผลและกำหนดแนวทางในการสร้างการเรียนรู้ รวมไปถึงการบริหารจัดการที่ดีในการผลิตและจำหน่ายเพื่อยกระดับความสามารถในอาชีพและการมีชีวิตที่ดีของวิสาหกิจชุมชนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เทคนิคและเครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม 3 ชุด (มีค่าความเชื่อมั่นจากการทดลองใช้ = .89, .81 และ .88) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการจัดเวทีสาธารณะ ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามวิเคราะห์ด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่าในจำนวนวิสาหกิจชุมชนทั้งหมด มีสถานะในการดำเนินงานเป็นกลุ่มที่แท้จริงตามที่พระราชบัญญัติกำหนดเพียง 76 ราย คิดเป็นร้อยละ 58.0 สถานภาพในการบริหารจัดการในระดับดี มีความสามารถในอาชีพระดับดี (= 4.05) และมีชีวิตที่ดีในระดับดีเช่นกัน (
=3.71) แนวทางในการส่งเสริมการเรียนรู้และการบริหารจัดการที่ดีเพื่อยกระดับความสามารถในอาชีพและการมีชีวิตที่ดีของวิสาหกิจชุมชน จังหวัดสมุทรสาครเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือ รัฐบาลควรส่งเสริมความรู้และการเรียนรู้ให้กับผู้นำและวิสาหกิจชุมชน เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการที่ดีทางด้านการผลิตและการตลาดให้พอเหมาะกับสินค้าของวิสาหกิจชุมชน โดยเปิดโอกาสให้สถานศึกษาได้มีบทบาทในการสนับสนุนการเรียนรู้ รวมทั้งใช้การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นประโยชน์ต่อการสร้างผลิตภัณฑ์ ส่วนองค์กรภาครัฐควรบูรณาการการสนับสนุนงานวิสาหกิจชุมชนร่วมกันเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในการทำงาน รวมทั้งองค์กรวิสาหกิจชุมชนควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างกันเพื่อหนุนช่วยซึ่งกันและกันให้มีพลังที่เข้มแข็ง ใช้แนวทางสายกลางเป็นแนวทางในการดำเนินงานคือ เน้นความร่วมมือ การมีส่วนร่วม และสร้างการค้าที่เป็นธรรม
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] เสรี พงศ์พิศ. 2548ก. วิสาหกิจชุมชน ทิศทางของการพัฒนา. กรุงเทพฯ: พลังปัญญา.
[3] ขวัญใจ สีสังข์. 2545. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชนและการให้สินเชื่อวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์.
[4] Galloway, S. and Dunlop, S. 2010. Social Creativity: Re-Qualifying the Creative Economy. International Journal of Cultural Policy. 16(3), pp.17-31.
[5] อรุณี เวียงแสง. 2551. ตลาดทางเลือก:"ตลาดที่มากกว่าการซื้อขาย." ในโครงการการจัดการตลาดผักปลอดสารพิษที่เหมาะสมและเป็นธรรมในช่วงปรับเปลี่ยนการผลิต เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก จังหวัดแม่ฮ่องสอน. ค้นเมื่อ 16 มกราคม 2554 จาก www.vijai-mhs.org/SA1_50.html.
[6] ชมชวน บุญระหงษ์. 2543. ระบบตลาดทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับสินค้าเกษตรกรรมยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น.
[7] สุรชัย โฆษิตบวรชัย. 2553. สร้างสรรค์ คุณค่า "Value Creation" บทสรุปของความสำเร็จยุคใหม่ จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. ค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2554 จาก www.okmd.or.th.
[8] เสรี พงศ์พิศ. 2548ข. ชุมชนเรียนรู้อยู่เย็นเป็นสุข: บทเรียนจากหมูบ้าน. กรุงเทพฯ: พลังปัญญา.
[9] พัชราวดี ศรีบุญเรือง. 2556. การใช้สื่อสังคมออนไลน์และอินเทอร์เน็ตมือถือของวิสาหกิจชุมชนในกรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 12(3), น.8-15.