ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องกำหนดการเชิงเส้น โดยใช้เครื่องคำนวณเชิงกราฟ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย (1) เพื่อสร้างชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องกำหนดการเชิงเส้น โดยใช้เครื่องคำนวณเชิงกราฟสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในการเรียนเรื่องกำหนดการเชิงเส้น และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อเนื้อหากำหนดการเชิงเส้น และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เครื่องคำนวณเชิงกราฟ
วิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย (1) เพื่อสร้างชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องกำหนดการเชิงเส้น โดยใช้เครื่องคำนวณเชิงกราฟสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในการเรียนเรื่องกำหนดการเชิงเส้น และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อเนื้อหากำหนดการเชิงเส้น และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เครื่องคำนวณเชิงกราฟ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดป่าประดู่ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โดยสุ่มตัวอย่างแบบเกาะกลุ่มจำนวน 40 คน ผู้วิจัยดำเนินการสอนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องกำหนดการเชิงเส้น โดยใช้เครื่องคำนวณเชิงกราฟ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผู้วิจัยทำการทดลองทั้งหมด 13 คาบ เมื่อสิ้นสุดการสอนแล้วผู้วิจัยให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องกำหนดการเชิงเส้น และตอบแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเนื้อหากำหนดการเชิงเส้นและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เครื่องคำนวณเชิงกราฟ
ผลการวิจัยพบว่า ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องกำหนดการเชิงเส้น โดยใช้เครื่องคำนวณเชิงกราฟ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 77.90/78.20 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 80/80 ที่กำหนดไว้ นอกจากนี้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องกำหนดการเชิงเส้น โดยใช้เครื่องคำนวณเชิงกราฟ สามารถสอบผ่านเกณฑ์ได้มากกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความสามารถในการเรียนเรื่องกำหนดการเชิงเส้นด้วยชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่อง กำหนดการเชิงเส้น โดยใช้เครื่องคำนวณเชิงกราฟ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และนักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจต่อเนื้อหากำหนดการเชิงเส้นในระดับมาก และมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เครื่องคำนวณเชิงกราฟในระดับมาก
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] Butkiaw, S. 2010. An Investigation of Matthayomsuksa 6 Student’s Linear Programming Conceptual Understanding Using The Geometer’s Sketchpad as a Learning Tool. Journal of Education Khon Kaen University (Graduate Studies Research), Retrieved September 9, 2010, from https://www.tci-thaijo.org/index.php/EDGKKUJ/article/view/49996
[3] National Council of Teacher of Mathematics. 2000. Principles and Standards for School Mathematics. Virginia: NCTM.
[4] Benson, T. 1989. Effect of Computer Instruction in Finite Mathematics on Student Achievement and Attitude. Illinois: Illinois State University. Retrieved July 12, 2016, from https://proquest.umi.com/pqdweb? id=744784751&sid=1&Fmt= 2&clientid=61839&RQT=309&VName=PQD
[5] The institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. 2007. Guide to Learning Mathematics Activities by Using Graphic Calculator at High School. Bangkok: Charianrat.
[6] Demana, F. and Waits, K. 2000. Calculators in Mathematics Teaching and Learning Past, Present and Future. In Learning Mathematics for a New Century. Virginia: NCTM.
[7] Kasberg, S. and Leatham, K. 2005. Research on Graphing Calculators at the Secondary Level: Implications for Mathematics Teacher Education. Contemporary Issues in Technology and Teacher Education. 5(1), p. 25-37. Retrieved June 20, 2016, from https://www.citejournal.org/volume-5/issue-1-05/mathematics/research-on-graphing-calculators-at-the-secondary-level-implications-for-mathematics-teacher-education
[8] Brahmawong, C. 2013. Development Testing of Media and Instructional Package. Silpakorn Educational Research Journal, 5(1), p. 7-20.
[9] Moore, D. and Quinn, C. 1994. Secondary Instructional Method. (N.P.).
[10] Sutham, C., et al. 2016. The Development of The Learning of Computer Problem Solving of Cooperative Learning Model for Matthayomsyksa 4 of Samsenwittayalai School. Journal of Industrial Education, 15(2), p. 56-63.
[11] Garnkonsu, S. 2009. Using Graphic Calculator for Developing Mathematical Learning Ability on Quadratic Function for MathayomSuksa 4 Students at Sankamphaeng Schoo, Chiang Mai Province. Master of Education Program in Mathematics Education, Chiang Mai University.
[12] Ekthaicharern, K. 2002. A Study of the Undergraduate Mathematics Students’ Achievement and Attitude on Learning Linear Algebra by Using Graphing Calculators. Srinakharinwirot Science Journal, 18(2), p. 52-61.