กิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เสริมสร้างความสามารถในการตั้งปัญหา ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับนิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น และพฤติกรรมในการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 38 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกอย่างเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งมีนิสิตจำนวน 4 คนที่เป็นนิสิตเป้าหมายในการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ ใช้เวลาดำเนินกิจกรรม 12 คาบเรียน คาบละ 50 นาที และใช้เวลาในการทดสอบหลังเรียน 120 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย กิจกรรมการเรียนการสอนการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น แบบทดสอบวัดความสามารถในการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น แบบสังเกตพฤติกรรมการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบสัมภาษณ์กระบวนการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบทวินาม ซึ่งใช้สถิติทดสอบ Z (Z-Test for Population Proportion) และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) นิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ที่เรียนด้วยกิจกรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีความสามารถในการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ผ่านเกณฑ์เป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 60 ของจำนวนนิสิตทั้งหมดที่ระดับนัยสำคัญ .01 และ 2) นิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ที่เรียนด้วยกิจกรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แสดงพฤติกรรมในการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการระบุเงื่อนไขของสถานการณ์ โดยนิสิตสามารถระบุเงื่อนไขของสถานการณ์ได้ครบถ้วน ด้านการเปลี่ยนเงื่อนไขของสถานการณ์ โดยนิสิตใช้กลยุทธ์ในการเปลี่ยนเงื่อนไขหลากหลายขึ้น ใช้เวลาในการอภิปรายเพื่อเปลี่ยนเงื่อนไขมากขึ้น และใช้การตั้งคำถาม “ถ้า … แล้ว จะเป็นอย่างไร” หรือคำถาม “ถ้า … ไม่ … แล้วจะเป็นอย่างไร” มากขึ้น และด้านการตั้งคำถามหรือตั้งปัญหาโดยนิสิตสามารถระบุเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับการแก้ปัญหาได้ชัดเจนมากขึ้น และนิสิตสามารถตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็นให้มีความซับซ้อนมากขึ้นได้
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] The Ecotourism Society. 1991. Meaning of Ecotourism . (Culture Online) , Retrieved August 22, 2015 from www.msu.ac.th
[3] Seri Wechbussakorn. 2538. Recreation and Interpretation. The Office of National Park, the Department of National Park, Wildlife, and Plant Conservation. (Culture Online), Retrieved August 22, 2015 from www.dnp.go.th/npo/html
[4] Preyaporn Wounganutaroat. N.2003. Academic Management. Bangkok : Pimdee.
[5] Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A.G. 2009. Statistical Power Analyses Using G*Power 3.1: Test for Correlation and Regression Analyses. Behavior Research Methods, 41, p.1149-1160
[6] The Tourism Authority of Thailand. 2539. Policy and Development Guidelines for Ecotourism, B.E. 2539- 2540 . Bangkok : Policy and Planning Division.
[7] The Tourism Authority of Thailand. 2548. Agricultural Tourist Attractions. Bangkok : The Tourism Authority of Thailand.
[8] Thipsuda Phatumanont. 2554. Composition and Space in Basic Design. CU Print, Bangkok : Chulalongkorn University.
[9] Chanthana Thongprayoon. 2537. Design and Layout for Publication. Nonthaburi : Sukhothai Thammathirat Open University.
[10] Chaturong Louhapensang, et al.2560. Development product design based on concept of creative economy from cultural capital of Nakhon chum district, Kamphaeng Phet province. Journal of Industrial Education, 16(2), p.75-83
[11] Central information cultural. 2556. 9 Cultural heritage and way of life 8 Thailand. (Cultural Online). Retrived June 13, 2558 from:https://www.thaiculture.in.th.index
[12] Buraparat Nanchai, et al.2558. Study and Development products from local wisdom of Baan Tawal village, Chiangmai. Journal of Industrial Education,14(1), p.116-120