จิตลักษณะและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมพอเพียงของชุมชนสุวรรณภูมิ

Main Article Content

สุรชัย ฐานสโร

บทคัดย่อ

การวิจัยเพื่อศึกษาจิตลักษณะและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมพอเพียงของประชาชนชุมชนสุวรรณภูมิ มีวัตถุประสงค์ คือ 1)เพื่อศึกษาลักษณะสถานการณ์ จิตลักษณะ และจิตพอเพียงที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมพอเพียง และ 2)เพื่อแสวงหาตัวแปรเชิงเหตุที่สำคัญในการทำนายพฤติกรรมพอเพียง กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนจากชุมชนสุวรรณภูมิ พ.ศ. 2554 จำนวน 1,200 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัดชนิดมาตรประเมินรวมค่า ซึ่งประกอบด้วยตัวแปร 4 ประเภท คือ 1)จิตลักษณะ 2)ลักษณะสถานการณ์ 3)พฤติกรรมพอเพียง และ 4)จิตพอเพียง ซึ่งเป็นตัวแปรแบ่งกลุ่มย่อยในการวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบ Stepwise และ Hierarchical ผลการวิจัยพบว่า


1) ลักษณะสถานการณ์ และจิตลักษณะ สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมพอประมาณ พฤติกรรมสุขภาพ พฤติกรรมซื่อสัตย์ และพฤติกรรมพลเมืองดี ในกลุ่มรวมได้ 41.7%, 43.3%, 15.8% และ 20.3% ตามลำดับ นอกจากนี้ยังร่วมกันทำนายความมีเหตุมีผล การมีภูมิคุ้มกันตน และการรับรู้คุณความดี ในกลุ่มรวมได้ 20.4%, 30.4% และ 35.1% ตามลำดับ


2) จิตพอเพียงสามารถทำนายพฤติกรรมพอเพียง ได้แก่ พฤติกรรมพอประมาณ พฤติกรรมสุขภาพ พฤติกรรมซื่อสัตย์ และพฤติกรรมพลเมืองดี เพิ่มขึ้นจากลักษณะสถานการณ์ และจิตลักษณะ โดยทำนายในกลุ่มรวมเพิ่มขึ้น 3.7%, 2.4%, 5.9% และ 0.8% ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
ฐานสโร ส. (2014). จิตลักษณะและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมพอเพียงของชุมชนสุวรรณภูมิ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13(2), 128–136. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/26529
บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2552. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550-2554. : [Online] Available : https://www.nesdb.go.th/

[2] ดวงเดือน พันธุมนาวิน. 2551. แผนงานวิจัยเพื่อสร้างและใช้พหุดัชนีทางจิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : ขั้นตอนที่หนึ่ง สาขาจิตพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการสร้างดัชนีทางจิต. เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง “วช. กับการวิจัยเพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดทางจิตแบบพหุมิติและพหุระดับในบริบทของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ภารกิจโครงการและประสานงานวิจัย สำนักงานคระกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) วันที่ 11 สิงหาคม 2551 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชัน กรุงเทพฯ

[3] ภัคพงศ์ ปวงสุข รัชดากร พลภักดี และอรุณรัศมี แสงศิลา. 2553. “ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 9(2) : 31-40.

[4] สมพร เทพสิทธา. 2548. เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.

[5] ดุจเดือน พันธุมนาวิน และดวงเดือน พันธุมนาวิน. 2550. “หลักเศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคล : ทฤษฎี และผลการวิจัย เพื่อสร้างดัชนีในแนวจิตพฤติกรรมศาสตร์.” วารสารพัฒนบริหารศาสตร์. 47 (1/2550) : 27-80.

[6] พิมพิกา จันทไทย. 2550. การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[7] สุรชัย ชาสุรีย์. 2552. ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการปฏิบัติตนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล. รายงานการวิจัย คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[8] จิตติพร ไวโรจน์วิทยาการ. 2551. ปัจจัยเชิงเหตุและผลของพฤติกรรมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนที่ประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง.ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

[9] ไพฑูรย์ พิมดี. 2551. ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการอนุรักษ์ป่าชุมชนของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล. รายงานการวิจัย คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[10] ไพฑูรย์ พิมดี. 2551. ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล. รายงานการวิจัย คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.