การพัฒนานวัตกรรมเครื่องฝึกซ้อมทักษะการเซตลูกวอลเลย์บอล ตามกระบวนการคิด เชิงออกแบบ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา

Main Article Content

พงษ์พันธ์ ผ่านพงษ์
วายุ กาญจนศร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้พัฒนานวัตกรรมเครื่องฝึกซ้อมทักษะการเซตลูกวอลเลย์บอล ตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาและศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อนวัตกรรมเครื่องฝึกซ้อมทักษะการเซต ลูกวอลเลย์บอล กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมและโครงสร้าง 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ
4) อาจารย์สอนวิชาพลศึกษาระดับอุดมศึกษา และ 5) ครูสอนวิชาพลศึกษา และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนมัธยมประดู่วัฒนา อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 21 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้องและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ความเที่ยงตรงตามเนื้อหาของนวัตกรรมมีค่าดัชนีความสอดคล้องความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 1.00 ความเชื่อมั่นของนวัตกรรม มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของการทดสอบความเชื่อมั่น มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกอยู่ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .971, p = .001) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยจากการศึกษาพบว่า นวัตกรรมเครื่องฝึกซ้อมทักษะการเซตลูกวอลเลย์บอล ตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบ มีความเที่ยงตรง มีความเชื่อมั่นที่มีความน่าเชื่อถือในการใช้งาน สามารถเป็นเครื่องมือในการฝึกทักษะการเซตลูกวอลเลย์บอลได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัย ใช้งานง่าย แข็งแรง สวยงาม ลงทุนน้อย ใช้งานได้จริง เลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม มีแนวคิดทฤษฎีรองรับ และสอดคล้องกับหลักการออกแบบนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์

Article Details

How to Cite
ผ่านพงษ์ พ., & กาญจนศร ว. . (2023). การพัฒนานวัตกรรมเครื่องฝึกซ้อมทักษะการเซตลูกวอลเลย์บอล ตามกระบวนการคิด เชิงออกแบบ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา . วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 22(1), 61–74. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/251299
บท
บทความวิจัย

References

Asanok, M. (2018). Integrated Design Thinking for instructional innovation development. Journal of Educational Technology and Communications Facutyl of Education Mahasarakham University, 1(1), 6-12. (in Thai)

Cross, N. (2001). Designerly ways of knowing: Design discipline versus design science. Design Issues, 17, 49-55.

Department of Physical Education. (2012). Volleyball Trainer's Guide T-Certificate. https://www.dpe.go.th/manual-files-392891791933. (in Thai)

Hyamwilai, N., Panyakaew, L., & Rangubhet, K. (2021). Innovation model of volleyball shooting machine. PTU Journal of Science and Technology, 2(2), 9-21. (in Thai)

Insuwanno, A. (2017). The result of blended training program affected to agility of female volleyball players. [Master’s thesis]. Prince of Songkla University. (in Thai)

Israsena na ayudhya, P., & Treerattaphan, C. (2017). Design thinking: learning by doing. Thailand Creative & Design Center (TCDC).

(in Thai)

Keawpan, T., Itsaranuwat, S., & Plangnok, J. (2020). Principles and concepts in product design. Journal of Humanities and Social Sciences Surin Rajabhat University, 22(2). 161-182. (in Thai)

Kulsawat, T. (2015). Finding the quality of research tools. https://km.buu.ac.th/public/backend/upload/article/file/document144620064347362700.pdf. (in Thai)

Laha, W., Hiruntrakul, A., & Ninprapan, A. (2018). The satisfaction of user in the isometric leg strength dynamometer in sitting position for field test. KKU Research journal (Graduate Study), 18(2). 32-43

Ngernphon, N., Sungkawadee, K., & Sungkawadee, P. (2016). Development of online media case study volleyball. Local Research toward Education Evolution The 1 Rajabhat Nakhon Sawan Research Conference 2016, 693-704. (in Thai)

Nobnom, Y. (2013). The development of volleyball skills by using training techniques for students. Grade 5, Health Education and Physical Education Learning Group Using Activity Blended Learning (CIRC). Pathumthani University Academic Journal, 5(1), 52-62.

(in Thai)

Numprapai, A. (2008). Volleyball skill levels of mathayomsuksa 3 student of muang angthong municipality schools in academic year 2007. [Master’s thesis]. Srinakharinwirot University. (in Thai)

Pasadee, S., Sungkawadee, K., & Sungkawadee, P. (2016). Development of educational innovative media for study preliminary futsal on Android operating system. Local Research toward Education Evolution The 1 Rajabhat Nakhon Sawan Research Conference 2016,

-764. (in Thai)

Phokiriratseuksa school. (2016). Handbook for developing sports potential to excellence (volleyball). https://bit.ly/3XN0dZ5 (in Thai)

Piayura, K., & Buranarugsa, R. (2020). Reliability and validity of counting and speed test custommade device in taekwondo roundhouse kicking test for young taekwondo athletes. Journal of Education Burapha University, 31(3). 109-121. (in Thai)

Prommanee, P., Pitayavatanachai, Y., & Tappha, J. (2020). Concepts of satisfaction and construction of job satisfaction questionnaire. Apheit Journal, 26(1). 59-66. (in Thai)

Ratchagit, T. (2019). Design Thinking is an important tool for organizational success.

https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190702-design-thinking/. (in Thai)

Sukkam, S., Kænsaksiri, E., & Domtho̜ng, U. (2017). Intraclass Correlation.

http://sc2.kku.ac.th/stat/statweb/images/Eventpic/60/Seminar/02_5_Intraclass-Correlation.pdf. (in Thai)

Suppamit, K., & Gomaratut, C. (2015). A comparative study of volleyball spike tactics between successful and unsuccessful women’s volleyball team in the Olympic games 2012. Journal of Sports Science and Health, 16(2), 1-13. (in Thai)

Wongthongbang, B., Tanphanich, T., & Sanguansaksagul, T. (2020). Inovative elastic ball to improve the skill of hand serving on volleyball for secondary grade 3 students. Journal of Health, Physical Education and Recreation, 46(2), 308-317. (in Thai)