การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง พันธุศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการ เรียนรู้แบบ 4MAT และการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ผังมโนมติรูปตัววี

Main Article Content

เจษฎา ราษฎร์นิยม
สุเมธพงศ์ จงรักษา
อารยา ลี
มนมนัส สุดสิ้น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธุศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT และการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ผังมโนมติรูปตัววี ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT กับกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ผังมโนมติรูปตัววี และ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT กับกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ผังมโนมติรูปตัววี กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 84 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT 2) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ผังมโนมติรูปตัววี 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.33–0.61 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.22–0.56 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 และ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ที่มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.33–0.69 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.22–0.66 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 ข้อมูลถูกวิเคราะห์โดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยทีแบบกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระต่อกัน (t-test for independent samples)


     ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT และแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ผังมโนมติรูปตัววี (E1/E2) มีค่าเท่ากับ 86.82/83.47 และ 85.25/81.10 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT และนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ผังมโนมติรูปตัววี แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และ 3) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT และนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ผังมโนมติรูปตัววี แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

How to Cite
ราษฎร์นิยม เ., จงรักษา ส., ลี อ., & สุดสิ้น ม. (2019). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง พันธุศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการ เรียนรู้แบบ 4MAT และการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ผังมโนมติรูปตัววี. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 18(3), 25–35. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/193131
บท
บทความวิจัย

References

Prapansiri Susaorat. 2013. Thinking Development. Bangkok: 9119 Technic Printing LP.

Ministry of Education. 2008. Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008). Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand Press.

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. 2017. Basic Summary of PISA 2015. Bangkok: The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. Online Document.

National Institute of Educational Testing Service. 2018. Summary of Ordinary National Education Test Report of the 2560 Academic Year. [online]. Retrieved from https://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETM3_2560.pdf (October 03, 2019).

Sasithorn Wiangwalai. 2013. Learning Management. Bangkok: O.S. Printing House.

Monhathai Chanthunyakum. 2011. The Effect of Using Vee Diagrams of Mathayomsuksa I Students’ Mathematical Problem Solving Ability and Communication Skill in Word Problems of Linear Equations in One Variable. Master of Education Degree in Secondary Education, Srinakharinwirot University.

Tisana Khammani. 2009. Sciences of Teaching: Body of Knowledge for Effective Learning Procedure. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Chumpon Chareesean and Phairoth Termtachatipongsa. 2012. Grade 9 Students’ Scientific Conceptual Understanding of “Life and Environment” from Vee Heuristic Learning Method. Journal of Education Khon Kaen University, 35(4), p. 20–26.

Novak, J. D., Gowin, D. B., and Kahle, J. B. 1984. Learning How to Learn. Cambridge: Cambridge University Press.

Chadawan Sukhamsri, Mayuso Kuno and Chatchadaporn Pinthong. 2018. Development of Learning Management using Scientific Representations in Stoichiometry for High School Students. Journal of Industrial Education, 17(3), p. 47–53.

Pattana Thaporn, Sutep Thongpradid and Montri Anantarak. 2013. Comparison of MathayomSuksa 1 Students’ Learning Achievements and Scientific Problem Solutions on Thermal Energy through 4-MAT Learning Activity versus Teaching a Quest Following the IPST Type. Nakhon Phanom University Journal, 3(2). p. 41–47.

Rungsinee Sutikad, Tatsana Prasantree and Montree Anantarak. 2014. A Comparison of Achievements in Learning on Living Things and the Environment and of Science Process Skills among Prathom Suksa 6 Students through Learning Management Approaches Using 4 MAT versus Inquiry. Nakhon Phanom University Journal, 4(1), p. 37–44.

Mariam Watthanard, Chade Sirisawat and Sutin Kingtong. 2016. A Comparison of Inquiry Based Learning with Vee Diagram and Conventional Approach on Learning Achievement and Integrated Science Process Skills in Topic of Nervous. Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning, 7(2). p. 254–264.

Thitirat Punyayao and Virapong Saeng-Xuto. 2018. Effects of Inquiry Method with V Diagrams to Promote Critical Thinking of Mathayomsuksa 2 Students. FEU Academic Review Journal, 12(2), p. 100–114.

Suwannee Sangartit, Thunyaporn Cheunklin and Chutima Teanchaithut. 2016. The Effects of 4MAT Teaching on Analytical Thinking Ability of Third Year Nursing Students at Prachomklao College of Nursing, Phetchaburi. Journal of Health Science Research, 10(2), p. 82–91.