การศึกษาศิลปวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อเพื่อการออกเเบบพัฒนาเครื่องประกอบการเเต่งกาย

Main Article Content

รัษฎา วงศ์อนันต์
อุดมศักดิ์ สาริบุตร
จตุรงค์ เลาหะเพ็ญแสง

บทคัดย่อ

การศึกษาศิลปวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศิลปวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ 2) เพื่อออกเเบบผลิตภัณฑ์จากศิลปวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ใช้การวิจัยเเบบผสมผสาน (Mixed  Methodology) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อจำนวน 4 จังหวัด  คือ พะเยา เชียงราย เชียงใหม่ และ น่าน  ใช้เกณฑ์การคัดเลือกโดยการสุ่มแบบเจาะจงโดยใช้แบบสัมภาษณ์มาเป็นข้อมูลเพื่อวิเคราะห์หาแนวทางประยุกต์ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ ส่วนขั้นตอนการพัฒนาและออกแบบใช้กระบวนการวิเคราะห์ทฤษฏีการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพเพื่อให้มาซึ่งรูปแบบของผลิตภัณฑ์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบประเมินผลการออกแบบนำข้อเสนอเเนะมาพัฒนาเพื่อสร้างต้นเเบบของผลิตภัณฑ์เเละประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้ค่าสถิติ ได้เเก่ ค่าเฉลี่ยร้อยละเเละค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยการศึกษาศิลปวัฒนธรรมไทลื้อจากการสัมภาษณ์ลงพื้นที่ภาคสนามได้ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลโดยทฤษฎีกระบวนการตัดสินใจเชิงลำดับ (Analytic Hierarchy Process) พบว่าสิ่งที่สามารถบ่งบอกถึงความเป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ คือด้านผ้าทอที่มีความเหมาะสมนำมาประยุกต์ใช้ในการออกเเบบผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบการแต่งกาย พบว่าผู้เชี่ยวชาญที่ให้ค่าคะแนน กระเป๋าสตรีรูปแบบที่ 1 มากที่สุดมีค่าเท่ากับ (gif.latex?\bar{x}= 4.69, SD.=0.454) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดที่นำมาประยุกต์ใช้กับลวดลายของผ้าทอไทลื้อลายน้ำไหลสีสันสดใสที่สื่อถึงความป็นเอกลักษณ์ของศิลปหัตถกรรมผ้าทอไทลื้อ ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายและผลการประเมินความพึงพอใจที่ผู้บริโภคมีต่อผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบการแต่งกายจำนวน 100 คน พบว่าค่าคะแนนด้านประโยชน์ใช้สอย มีความเหมาะสมมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.14, S.D.=0.62) ด้านความงามและเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นมีความเหมาะสมมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.07, S.D.=0.62) ด้านราคาที่เหมาะสม มีระดับความเหมาะสมมาก (gif.latex?\bar{x}= 3.85,S.D.=0.65)ด้านคุณค่าและความงามศิลปวัฒนธรรม ความเหมาะสมมากอยู่ที่ (gif.latex?\bar{x}= 3.95,S.D.=0.60) ด้านส่งเสริมการขายมีความเหมาะสม (gif.latex?\bar{x}= 3.55, S.D.=0.76)

Article Details

How to Cite
วงศ์อนันต์ ร., สาริบุตร อ., & เลาหะเพ็ญแสง จ. (2015). การศึกษาศิลปวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อเพื่อการออกเเบบพัฒนาเครื่องประกอบการเเต่งกาย. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(3), 368–375. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/145759
บท
บทความวิจัย

References

[1] บุญช่วย ศรีสวัสดิ์. 2547. ไทยสิบสองปันนาเล่ม 1. กรุงเทพฯ : สยาม.

[2] ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล. 2551. มรดกวัฒนธรรมผ้าทอไทลื้อ. เชียงใหม่ : มูลนิธิโตโยต้าเเห่งประเทศญี่ปุ่นธนาคารเเห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ
[3] สิริวรรณ วงษ์ทัต. 2554. ผ้าไทย. ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน.วารสารคณะมนุษยศาสตร์เเละสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา : สืบค้น วันที่ 8 มิถุนายน 2558 จาก http://www.thaistudies.chula.ac.th/database/m13-05-detail.php?id=8972
Wongtat.S.2011. Thailand Fabric. Arts and Crafts.Journal of the Humanities, SocialSciencesundertakings University. Retrieved on June, 2558 from.http://www.thaistudies.chula.ac.th/database/m13-05-detail.php?id=8972 .

[4] เอกวิทย์ ณ ถลาง. 2546. ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ : อมรินทร์.

[5] วัฒนะ จูฑะวิภาต. 2545. ศิลปะพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ : สิปประภา.

[6] วิฑูรย์ ตันศิริคงคล. 2542. AHP กระบวนการตัดสินใจที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก. กรุงเทพฯ : กราฟิก แอนด์ ปริ้นติ้ง.

[7] นิรัช สุดสังข์. 2548. ออกเเบบอุตสาหกรรมระบบเเละวิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

[8] อุดมศักดิ์ สาริบุตร. 2549. เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

[9] มณฑลี ศาสนนันทน์ . 2550. การออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมและวิศวกรรมย้อนรอย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

[10] ฟิลิปคอตเลอร์ . 2550. การตลาดฉบับคอตเลอร์กลยุทธ์สร้างความเป็นเลิศทางการตลาด, เเปลเเละเรียบเรียงโดย เมธา ฤทธานนท์.
กรุงเทพฯ: พิฆเณศ พริ้นติ้ง.

[11] สุธาสินีน์ บุรีคำพันธุ์ . 2556. การศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนย่านวัดพระธาตุหริภุญชัยเพื่อการออกเเบบผลิตภัณฑ์สาธารณะ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13(2), น 81-88.
Bureekhampun.S . 2013. A Study on the Cultural landscape of Wat Phra That Hariphunchai Community to Design Public Facility. Journal of Industial Education, 13(2), p 81-88.