การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาในการจัดการเรียนการสอนวิชา คอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบโดยใช้ห้องเรียนอัจฉริยะของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาออกแบบหัตถอุตสาหกรรมคณะศิลปกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์ลําปาง)

Main Article Content

ธีรศักดิ์ สะกล
ศิริรัตน์ เพ็ชร์แสงศรี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบ โดยใช้ห้องเรียนอัจฉริยะของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาออกแบบหัตถอุตสาหกรรม คณะศิลปกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์ลําปาง) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคืออาจารย์และนักศึกษาในระดับปริญญาตรี ที่ผ่านการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบของสาขาออกแบบหัตถอุตสาหกรรม คณะศิลปกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์ลําปาง)  โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มจํานวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามชนิดมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วยข้อคำถาม 32 ข้อ ตามกรอบแนวคิดในการศึกษาที่ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบได้แก่ 1. ห้องเรียนอัจฉริยะ 2. ด้านการสอนและเทคนิคการสอน และ 3. ด้านการวัดและประเมินผล สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน


ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและปัญหาในการจัดการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบ โดยใช้ห้องเรียนอัจฉริยะในภาพรวมอยู่ในระดับดี ทั้งนี่เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านองค์ประกอบของห้องเรียนอัจฉริยะอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการสอนและเทคนิคการสอนและด้านการวัดและประเมินผลมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี  องค์ประกอบในด้านห้องเรียนอัจฉริยะที่ควรได้รับการปรับปรุงได้แก่  ความครอบคลุมของการเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย ความเร็วของระบบฐานข้อมูลกลางที่ทำให้การเชื่อมต่อเป็นไปอย่างราบรื่น การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายของสถาบัน ความครอบคลุมของจุดเชื่อมต่อของจุดปลั๊กไฟ ยูเอสบี และจุดเน็ตเวิร์ค และ ความสามารถในการตรวจสอบพฤติกรรมหรือความก้าวหน้าของผู้เรียนโดยใช้ระบบในห้องเรียนอัจฉริยะ ซึ่งมีความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับพอใช้

Article Details

How to Cite
สะกล ธ., & เพ็ชร์แสงศรี ศ. (2018). การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาในการจัดการเรียนการสอนวิชา คอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบโดยใช้ห้องเรียนอัจฉริยะของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาออกแบบหัตถอุตสาหกรรมคณะศิลปกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์ลําปาง). วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 17(1), 104–112. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/140004
บท
บทความวิจัย

References

[1] Van Laar, E., van Deursen, A. J. A. M., van Dijk, J. A. G. M., & de Haan, J. (2017). The relation between 21st-century skills and digital skills: A systematic literature review. Computers in Human Behavior, 72, 577–588. doi:10.1016/j.chb.2017.03.010

[2] Division of Research Administration and Education Quality Assurance. Thailand 4.0 Blueprints to Drive Thailand to Sustainable and Sustainable Wealth. Retrieved 5 May 2017, from https://www.libarts.up.ac.th/v2/img/Thailand-4.0.pdf

[3] PRACHACHAT NEWS. The heart of the 21st century Smart classroom. Retrieved May 2017, from https://www. prachachat.net/news_detail.php?newsid=1406616714

[4] Partnership for 21st Century Skills. 2015. P21 Framework Definitions Retrieved September 13, 2017,from https://www.p21.org/storage/documents/docs/P21_Framework_Definitions_New_Logo_2015.pdf

[5] Putchara Varniwasin. 2015. The Application of Computer to Change Learning and Teaching Ways in a Smart Classroom. Kasetsart Educational Review, 30(3), 131-138

[6] Auearee Tongkewjun 2015. Smart Classroom with 21st Century Learning Skill. Retrieved 5 May 2017, from https://uaaree.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2015/12/smart-classroom.pdf

[7] Sevindik, T. (2010). Future’s learning environments in health education: The effects of smart classroomson the academic achievements of the students at health college. Telematics and Informatics, 27(3), 314–322. doi:10.1016/j.tele.2009.08.001

[8] Surasuk Parhae (2013). SMART CLASSROOM : . Retrieved 1 May 2017, from https://www.satit.up.ac.th/primarysatit/document/smartclassroom.pdf

[9] Huang , R. ; Hu , Y. ; Yang , J. and Xiao , G. ( 2014 ). “The Functions of Smart Classroom in Smart Learning Age.” Retrieved 3 May 2017, from https://www.lsl.nic.edu.sg/icce2012/wp-content/uploads/2012/12/C4-3-162.pdf

[10] Joyce, B and Weil, M (1996) Medels of Teaching (5th ed.). London : Allyn and Bacon.

[11] Chanatip Phonkul (2015). Teaching The Thinking Process and Evolution (3rd ed.). Bangkok : CU Printing

[12] Tidsana Sangmanee (2017). Science of Teaching (21th ed.). Bangkok : CU Printing

[13] Rubin, L.(1991). Educational Evaluation: Classic Works of Ralph W. Tyler. Journal of Curriculum Studies, 23(2), 193–197. doi:10.1080/0022027910230210

[14] Pitsanu Fongsi (2013). The Education Evaluation (7th ed.). Bangkok : CU Printing

[15] Nutta Sawiboon. 2010 The Current Instructions Practices AND Problem of INT212 (INTERIOR DESIGN 2), Filed oof Study Interior Design Faculty of Architecture. SRIPATUM REVIEW,7(1), P.122-130

[16] Varaton Lertboon, Ravewan Shinatrakool, and Samer Roenganan. 2016 The Study of Teaching and Learning Situation Perceived By Adminnistrators And Teachers Of Vovationnal Certificate 2556 Be In Industrial Teachnique Under The Office Of Vocational Education. Journal of Industrial Education,16(1), P.104-112