การศึกษาแนวทางบูรณาการทุนทางวัฒนธรรมในการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรครุศาสตร์การออกแบบ ระดับอุดมศึกษา

Main Article Content

จตุรงค์ เลาหะเพ็ญแสง

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมาย คือ 1) เพื่อศึกษาทุนทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบที่สำคัญในประเทศไทย 2)เพื่อศึกษาแนวทางในการบูรณาการความรู้จากทุนทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบกับการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรครุ-ศาสตร์การออกแบบและ 3)เพื่อประเมินความพึงพอใจและศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่จัดการเรียนการสอนโดยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรครุศาสตร์การออกแบบ โดยการบูรณาการความรู้จากทุนทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบที่สำคัญในประเทศไทยกับวิธีการสอนปกติ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยเชิงทดลอง โดยกำหนด ตัวแปรต้นคือ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรครุศาสตร์การออกแบบ โดยการบูรณาการความรู้จากทุนทางวัฒนธรรม ตัวแปรตามคือผลการศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบโดยผ่านการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับดีสุดท้ายศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ และ ประเมินความพึงพอใจ โดย


ผลการวิจัยปรากฏดังนี้


1. การในศึกษาทุนทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ ที่สำคัญในประเทศไทยผู้วิจัยนำแนวทางการพัฒนาจากทุนวัฒนธรรมของกระทรวงวัฒนธรรม อันประกอบด้วย 9 มรดกทางวัฒนธรรม และ 8 วิถีไทยมาเป็นกลไกในการคัดกรองทุนทางวัฒนธรรมสำหรับนำมาใช้ในการพัฒนารูปแบบจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการทุนทางวัฒนธรรม


2.รูปแบบการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรครุศาสตร์การออกแบบ โดยการบูรณาการความรู้จากทุนทางวัฒนธรรมในรายวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ หลักสูตรครุศาสตร์การออกแบบ ระดับปริญญาตรี ได้กระบวนการในรูปแบบจำนวน 3 กระบวนการประกอบด้วย 1) กระบวนการเตรียมและการยอมรับ 2)กระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการความรู้จากทุนทางวัฒนธรรม เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ 3 )กระบวนการวัดและประเมินผล รูปแบบที่ได้มีความเป็นระบบ สามารถทำความเข้าใจ และเรียนรู้ได้ง่ายผู้เรียนสามารถติดตามผลความก้าวหน้าในการเรียนรู้ และการออกแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพอันจะทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนด้านการออกแบบหรือการบริหารจัดการงานด้านการออกแบบในองค์กรได้ต่อไป


3. อาจารย์และนักศึกษาที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน โดยการบูรณาการความรู้จากทุนทางวัฒนธรรม ในรายวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ หลักสูตรครุศาสตร์การออกแบบ ระดับปริญญาตรีที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{x} =4.13) และนักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่า วิธีการสอนปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

Article Details

How to Cite
เลาหะเพ็ญแสง จ. (2014). การศึกษาแนวทางบูรณาการทุนทางวัฒนธรรมในการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรครุศาสตร์การออกแบบ ระดับอุดมศึกษา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13(3), 91–98. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/126758
บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ.2552. รายงานการศึกษาเบื้องต้นเศรษฐกิจสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: บี.ซี.เพรส (บุญชิน).

[2] วรากรณ์ สามโกเศศ. 2553. เอกสารประกอบการบรรยาย. เศรษฐกิจสร้างสรรค์จันทบุรี.สำนักงานคลังจังหวัดจันทบุรี.

[3] Bourdieu, Pierre. 1986. ‘The Forms of Capital’ in John Richardson (ed.) Handbook of Theory and Research for the Sociology of Education. New York: Greenwood Press.

[4] Csikszentmihalyi, Mihaly. 1999. Implications of a SystemsPerspective for the Study of Creativity in Robert Sternberg (ed) Handbook of Creativity. Cambridge. Cambridge University Press.

[5] Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang,A.-G. 2009. Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41, 1149-1160.

[6] นงลักษณ์ วิรัชชัย. 2555. การกำหนดขนาดตัวอย่างในการทดสอบสมมุติฐานวิจัย.เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง “วิธีการที่ถูกต้องและทันสมัยในการกำหนดขนาดตัวอย่าง” ในโครงการ Research Zone จัดโดยศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) วันที่ 26 มกราคม 2555.

[7] ชาญชัย รอดเลิศ และ คณะ. 2554. การศึกษาและออกแบบสื่อการเรียนรู้งานศิลปหัตถกรรมปลาตะเพียนสาน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม.10(3), น.54-63.

[8] ธัญญาภักดิ์ ธิเดช และคณะ. 2555.ศึกษาเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมล้านนา เพื่อประยุกต์ใช้ในการออกแบบงานเครื่องเรือน.วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 11(1),น.208-219.

[9] อรุณี ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์. 2554. ทุนทางวัฒนธรรมในแบบจำลองการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ.การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49, 1 กุมภาพันธ์ 2554, กรุงเทพมหานคร.

[10] ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม. 2556.9 มรดกทางวัฒนธรรม และ 8 วิถีชีวิตไทย.กระทรวงวัฒนธรรมออนไลน์.ค้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2557,จากhttps://www.thaiculture.in.th/index