หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ใส่ใจสุขภาพ

Main Article Content

นนทชัย นาเจริญ
อรรถพร ฤทธิเกิด
ฉันทนา วิริยเวชกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ใส่ใจสุขภาพ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ใส่ใจสุขภาพ       


กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนแปลงยาวพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โดยกลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มจำนวน 2 กลุ่มๆ ละ 20 คน โดยวิธีการจับสลาก (Simple random Sampling) รวมทั้งสิ้น 40 คน กลุ่มที่ 1 ใช้ในการหาประสิทธิภาพและกลุ่มที่ 2 ใช้ในการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน


ผลการวิจัยพบว่า


       1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ใส่ใจสุขภาพ มีประสิทธิภาพของบทเรียนเท่ากับ 86.75:83.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด คือไม่ต่ำกว่า 80:80


       2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ใส่ใจสุขภาพ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
นาเจริญ น., ฤทธิเกิด อ., & วิริยเวชกุล ฉ. (2015). หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ใส่ใจสุขภาพ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(1), 299–304. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/124498
บท
บทความวิจัย

References

[1] กรมวิชาการ. 2546. การจัดสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา ตามหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

[2] Robert M. Gagné. R M. 1974. Leslie J. Principles of Instructional Design. New York: Holt Rinehart and Winston.

[3] ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ. 2521. เทคโนโลยีการสอนและการศึกษา. กรุงเทพฯ: ยูไนเต็ด โปรดักชั่น.

[4] Benjamin S.Bloom. 1964. Characters and Characteristics Genetic Psychology. New York : John Willey.

[5] วรากร เหล่าสุวรรณ. 2555. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องการฝึกอบรมพื้นฐานการใช้วิดิโอคอนเฟอเรนซ์ รุ่นเทนด์เบริก 880 เอ็มเอ็กซ์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา ทางการอาชีวะและเทคนิคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอม เกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[6] นวอร แจ่มขำ. 2547. การพัฒนาหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์แบบโปรแกรม เรื่องเทคโนโลยี สารสนเทศสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา เทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

[7] นเรศ คงเปี่ยม. 2552. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์วิชาการ สื่อสารข้อมูลและเครือข่าย เรื่องระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง โรงเรียนเทคโนโลยีบริหารธุรกิจ สมุทรปราการ.วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 8(2), น. 288-295

[8] อมรรัตน์ ยางนอก. 2549. การพัฒนาหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ เรื่องการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการ สื่อสาร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.