การพัฒนาบทเรียนโมบายเลิร์นนิ่งมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง ความซื่อสัตย์ สำหรับเด็กปฐมวัย

Main Article Content

สุนทรี วงศ์สง่า
ฉันทนา วิริยเวชกุล
ไพฑูรย์ พิมดี

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนโมบายเลิร์นนิ่งมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง ความซื่อสัตย์ สำหรับเด็กปฐมวัย 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยบทเรียนโมบายเลิร์นนิ่งมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง ความซื่อสัตย์ สำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนสำเร็จวิทยา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวนนักเรียน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) บทเรียนโมบายเลิร์นนิ่งมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง ความซื่อสัตย์ สำหรับเด็กปฐมวัย 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง 0.67–1.00 ค่าความยากง่ายระหว่าง 0.30-0.80 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.20–0.60 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82     3) แบบสอบถามเพื่อประเมินคุณภาพบทเรียนโมบายเลิร์นนิ่งมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบค่าที (t-test) แบบ dependent samples ผลการวิจัยพบว่า


     1) บทเรียนโมบายเลิร์นนิ่งมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง ความซื่อสัตย์ สำหรับเด็กปฐมวัย มีประสิทธิภาพไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด


     2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนโมบายเลิร์นนิ่งมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง ความซื่อสัตย์ สำหรับเด็กปฐมวัย สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
วงศ์สง่า ส., วิริยเวชกุล ฉ., & พิมดี ไ. (2015). การพัฒนาบทเรียนโมบายเลิร์นนิ่งมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง ความซื่อสัตย์ สำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(3), 224–229. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/124425
บท
บทความวิจัย

References

[1] ธีรภัทร สุดาทิศ. 2550. ยูบิควิตัส. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.gotoknow.org/posts/221698. (วันที่ค้นข้อมูล: 1 เมษายน 2557).

[2] Grunwald Associates LLC. 2013. Living and Learning with Mobile Devices : What Parents Think About Mobile Devicesfor Early Childhood and K-12 Learning. California : n.p.

[3] Emeeyou. 2012. Should parents expect more? Making the case for evidence -based early childhood education mobile applications. [Online]. Retrieved from https://www.emeeyou.com/wp content/uploads/2012/11/emeeyou_white_paper_04112012.pdf.

[4] Peirce, N. 2013. Digital Game-Based Learning for Early Childhood. Dublin: n.p.

[5] กระทรวงวัฒนธรรม. 2556. ความซื่อสัตย์นั้น สำคัญไฉน?. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.m- culture.go.th/ilovethaiculture/index.php/2013-07-01-03-20-57/2013-09-20-08-51-08/item/ความซื่อสัตย์นั้น-สำคัญ ไฉน.(วันที่ค้นข้อมูล: 25 พฤษภาคม 2558).

[6] Ally, M. 2009. Mobile Learning Transforming the Delivery of Education and Training. Alberta: AU Press.

[7] ชัยยงค์ พรหมวงศ์ สมเชาว์ เนตรประเสริฐและคณะ. 2520. ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[8] Anderson, L.W. and Krathwohl, D.R. 2001. A Taxonomy for Learning, Teaching, And Assessing: A Revision of Bloom's Taxonomy of Educational Objectives. New York : Longman.

[9] นิโรบล จันทะกล. 2550. ผลการเรียนรู้ด้วยสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง ธรรมชาติรอบตัวของนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

[10] จินตนา เรืองวิไลรัตน์. 2551. การออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์เพื่อสร้างจิตสำนึกด้านจริยธรรมของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลป มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

[11] นารีรัตน์ ดีสวน และจิตรลดา ซิวดอน. 2557. การศึกษาความต้องการในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครราชสีมา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13(1), น. 45-53.