แนวทางการออกแบบผังบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ เชื่อมโยงสภาพแวดล้อมชุมชนบางคล้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาแนวทางการออกแบบผังบริเวณ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ เชื่อมโยงสภาพแวดล้อมชุมชนบางคล้า มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาสภาพแวดล้อมในผังบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ บางคล้า กับการอยู่ร่วมกับชุมชน2)ศึกษาทฤษฎีการจัดการผังบริเวณมหาวิทยาลัย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาชุมชน3)ศึกษาแนวทางการออกแบบผังบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์เชื่อมโยงสภาพแวดล้อมชุมชนบางคล้า โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสำรวจแบบสังเกต แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์ จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 200 คน ประกอบด้วยนักศึกษา เจ้าหน้าที่ บุคลากร และบุคคลทั่วไปที่เข้ามาใช้ผังบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ บางคล้า
ผลการวิจัยพบว่าลักษณะสภาพแวดล้อมทางกายภาพของชุมชนบางคล้าโดยรอบมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์เกิดการขยายตัว การใช้ประโยชน์พื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงจากพื้นที่การเกษตร เป็นพื้นที่ด้านเศรษฐกิจ เช่น ตึกแถว หอพัก ร้านค้า ผลการวิจัยยังได้ทราบถึง องค์ประกอบของการออกแบบผังบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ที่สำคัญคือ พื้นที่บริการสาธารณะบริการชุมชนซึ่งสามารถนำไปใช้ช่วยส่งเสริมให้การจัดการผังบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ มีศักยภาพในการพัฒนาสภาพแวดล้อมชุมชนบางคล้า
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] Office of the Higher Education Commission.2012.THE ELEVENTH HIGHER EDUCATION DEVELOPMENT PLAN (2012 - 2016). Research at 20 December 2015, Website https://www.mua.go.th/user/bpp/developplan/
[3] Rajabhat Rajanagarintra University.2013. Rajabhat Rajanagarintra University Development Plan 4 years (2012 - 2016).Rajabhat Rajanagarintra University council.
[4] publications/The_International_Exhibition_Market_in_Asia_2013.pdf Subcommittee on Planning and Environmental Management. 2010. Plan policy management space. Green, sustainable communities. Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning (ONEP). publications/The_International_Exhibition_Market_in_Asia_2013.pdf
[5] Muktabhant, M.1994. A study for site planning and design guidelines of technical colleges, Department of Vocational Education, Ministry of Education. Master Architecture (Urban Design). Graduate School, Silpakorn University.
[6] Khamya, S & Partner. 2011. The Educational Town Development approaches based on the concept of Sustainable Urban Development Case Study of Areas Communities Surrounding the Mahasarakham University. Journal of Humanities and Social Sciencws Mahasarakham university research conference, (10), p.86-95.
[7] Bureekhampun, S., Khiaomang2 K. & Noobanjong K. 2014. A Study on the Cultural Landscape of Wat Phra That Hariphunchai Community to Design Public Facility. Journal of Industrial Education. 13(2), 81-88.
[8] Boonkham, D & Partner.1989.The Master Planning of Higher Education. Bangkok: Chulalongkorn University
[9] Thipayasothorn, P. 2008. Sustainable development of village‘s public facilities; A case of Ladkrabang District. Journal of Applied Arts research conference, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang. (2).