ส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อเบียร์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อเบียร์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อเปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อเบียร์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริโภคเบียร์ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ t-test และ One-way ANOVA ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวม ระดับความสำคัญต่อส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อเบียร์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยส่วนประสมทางการตลาดทุกด้านมีความสำคัญในระดับมาก คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมทางการตลาด ผู้บริโภคที่มีเพศและระดับการศึกษาแตกต่างกัน ให้ระดับความสำคัญต่อส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อเบียร์โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. 2555. ธุรกิจเบียร์ไทยกับตลาดในอาเซียน. ค้นเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2558,จาก https://www.thai-aec.com/547
[3] Kotler Philip. 1997. Marketing Management:Analysis, planning Implementation and control(9 th ed.). NewJersy: Prentice-Hall,Inc.
[4] ศรัณย์ ปุราภา. 2556.คุณค่าตราสินค้าความพึงพอใจด้านส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมการซื้อมีอิทธิพลต่อแนวโน้มพฤติกรรมการซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์เบียร์สิงห์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร
[5] อดิศวร์ หลายชูไทย และคณะ. 2545.สุราในสังคมไทย. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[6] สุวิทย์ ยอดจรัส. 2549.ปัจจัยการสื่อสารการตลาดในการตัดสินใจซื้อเบียร์ของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาการจัดการสื่อสารการตลาด บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
[7] บงกช พ่วงรักษา กตัญญู หิรัญญสมบูรณ์และกิตติพงษ์ ห่วงรักษ์. 2552.ส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อสินค้า OTOP ประเภทน้ำพริกสําเร็จรูปพร้อมบริโภคในบรรจุภัณฑ์ของผู้บริโภคในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 8(1), น. 226.
[8] ศิริวรรณ เสรีรัตน์. 2538. พฤติกรรมผู้บริโภคฉบับพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: วิสิทธิ์พัฒนา.
[9] มานนท์ แท่งทอง กตัญญูหิรัญญสมบูรณ์และจิระเสกข์ ตรีเมธสุนทร. 2554.ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ฮาร์ดดิสก์แบบพกพา (External hard disk)ของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล.วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 10(2), น. 234.
[10] วรพจน์ เกรียงไกรวณิช. 2550.ปัจจัยการบริหารจัดการและปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคเบียร์ของผู้บริโภคในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ สาขาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
[11] ศิริวรรณ เสรีรัตน์. 2541. การบริหารตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
[12] ศศิธร จังชัยศิริวัฒนา ฐิตินันท์ วารีวนิชและวรุณี เชาวน์สุขุม. 2553. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับคุณภาพบริการของร้านช้างมินิมาร์ท อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ สาขาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.