ส่วนประสมทางการตลาดในการใช้บริการร้านมนต์นมสดของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

นันทิยา สุอังควาทิน
ชัยสิทธิ์ ทองบริสุทธิ์
ณัฐวุฒิ โรจน์นิรุตติกุล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดในการใช้บริการร้านมนต์นมสดของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดในการใช้บริการร้านมนต์นมสด จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยใช้ตัวอย่างขนาด 400 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์ t-Test One-Way ANOVA ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า


1) ในภาพรวม ระดับความสำคัญต่อส่วนประสมทางการตลาดในการใช้บริการร้านมนต์นมสดของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์มีความสำคัญมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านบุคลากร ด้านราคา ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ


2) ผู้บริโภคที่มีอายุ รายได้ต่อเดือน และอาชีพแตกต่างกัน ให้ระดับความสำคัญต่อส่วนประสมทางการตลาดในการใช้บริการร้านมนต์นมสดโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผู้บริโภคที่มีเพศและระดับการศึกษาแตกต่างกันให้ระดับความสำคัญต่อส่วนประสมทางการตลาดในการใช้บริการร้านมนต์นมสดโดยรวมไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
สุอังควาทิน น., ทองบริสุทธิ์ ช., & โรจน์นิรุตติกุล ณ. (2015). ส่วนประสมทางการตลาดในการใช้บริการร้านมนต์นมสดของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(3), 690–696. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/123010
บท
บทความวิจัย

References

[1] ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร สถาบันอาหาร.2557. ธุรกิจอาหารฟาสต์ฟู้ดในประเทศไทย.ค้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2558.จากhttps://fic.nfi.or.th/broadcast/Rep_TH%20Fast%20Food_Nov2014%20edit.pdf

[2] มนต์ วนิศรกุล. ข้อมูลร้านมนต์นมสด.ค้นหาเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2558. จากhttps://www. mont-nomsod.com/blog.html

[3] กาญจนา บุญภักดิ์. 2552. การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ดของนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 1 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 10(1), น. 82.

[4] หทัยชนก วนิศรกุล. 2553.แนวทางพัฒนาธุรกิจด้านการตลาดของร้านมนต์นมสด สาขาเชียงใหม่.วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

[5] เฉลิมพล นิรมล. 2549.พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาธุรกิจบัณฑิตย์

[6] ภาวิณี กาญจนา. 2554. หลักการตลาด.กรุงเทพฯ: ท๊อป

[7] ธีริน สุขกระสานติ. 2546.ปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์บุกอรี่ร้านกาโตว์ เฮาส์ ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[8] ดวงใจ แก้วพลอย. 2548. ส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมการซื้อเบเกอรี่โอ บอง แปงกรณีศึกษา: สาขาศูนย์การค้าสยามสแควร์กรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนสุนันทา.

[9] Kotler,Philip & Kevin Lane Keller. 2009.Marketing Management. 13 Th ed.New Jersey: Prentice Hall.

[10] ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. 2550.การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ:ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.